ธรรมะ
- รายละเอียด
- ฮิต: 15855
สามัญญผลลำดับที่ ๑
หลังจากบรรลุฌาน ๔ แล้ว ถ้าผู้เจริญภาวนายังสามารถประคองใจเป็นสมาธินิ่งแน่วแน่ต่อไปอีก ใจย่อมบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ผ่องแผ้ว สุกสว่างยิ่งขึ้น ปราศจากกิเลสและอุปกิเลส๑ จึงตั้งหมั่นไม่หวั่นไหว เป็นใจที่ละเอียดอ่อน จนสามารถบรรลุญาณระดับต้น หรือที่เรียกว่า “ญาณทัสสนะ” บังเกิดความรู้ขึ้นในจิตใจตนเองโดยอัตโนมัติว่า กายของคนเราซึ่งเกิดจากมารดาและบิดานี้ ประกอบด้วยรูปและวิญญาณ รูปคือร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยมหาภูต ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ส่วนวิญญาณนั้นหมายถึงใจนั่นเอง
- รายละเอียด
- ฮิต: 15367
สามัญญผลเบื้องสูง
พระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้สึกประทับใจ และศรัทธาในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงเคารพเทิดทูนพระพุทธคุณไว้สูงสุด ทั้งประจักษ์แจ้งในพระอัจฉริยภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเลิศล้ำกว่าเจ้าลัทธิอื่นๆ อย่างเทียบเทียมมิได้เลย ในลำดับนั้นเองพระพุทธองค์จึงทรงแสดงสามัญญผลที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นจนถึงขั้นสูงสุด อันได้แก่ วิชชา ๘ ซึ่งเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพาน
- รายละเอียด
- ฮิต: 22968
ประเภทของสมาธิ
การบรรลุฌานทั้ง ๔ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ล้วนเป็นสามัญญผลอันเกิดจากการเจริญสมาธิภาวนาของพระภิกษุเอง สมาธิในพระพุทธศาสนาอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ระดับ คือ
- รายละเอียด
- ฮิต: 22848
ความหมายของสมาธิ
สมาธิ อาจให้คำจำกัดความได้หลายอย่าง เช่น
- รายละเอียด
- ฮิต: 21883
ละนิวรณ์ได้ ใจย่อมเป็นสมาธิ
จากพระดำรัสที่ยกมานี้ ย่อมเห็นแล้วว่า แม้พระภิกษุ ที่บริบูรณ์ด้วยศีลทั้งปวง ด้วยอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะแล้ว ถ้ายังละ “นิวรณ์” ไม่
ได้ กายและใจของพระภิกษุรูปนั้น ก็ยังไม่สามารถสงัดจากกามและอกุศลธรรมถึงจะทุ่มเท เวลาเจริญภาวนาไปนานแสนนาน ก็ไม่สามารถบรรลุคุณวิเศษอย่างใด ต่อ
เมื่อละนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว กายและใจจึงสงัดจากกาม หมดความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสงัดจากอกุศลธรรม คือ “อภิชฌา” และ “โทมนัส” ซึ่งก็
คือ “ความยินดียินร้าย” ที่สามารถบังคับใจให้คิดทำความชั่วต่าง ๆ ได้ทั้งสิ้น