โครงการบรรพชาและอุปสมบทหมู่ รุ่นเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช 2566
โครงการบรรพชาและอุปสมบทหมู่ รุ่นเข้าพรรษา
ประจำปีพุทธศักราช 2566
อบรมระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม - 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
กำหนดการ
เปิดโครงการ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2566
บรรพชา 22 กรกฎาคม พ.ศ.2566
เข้าพรรษา 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566
จบโครงการ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2566
บวช
ทดแทนคุณคุณบิดามารดา สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
เปิดทางสวรรค์และพระนิพพานให้กับตนและทุกคนในโลก
สอบถามโทร 086-755-0822, 089-754-8925
โครงการอุปสมบทหมู่ ธรรมทายาทพุทธศาสตร์สากล รุ่นที่ 7
โครงการอุปสมบทหมู่ ธรรมทายาทพุทธศาสตร์สากล รุ่นที่ 7
International Buddhist Society Thammatayat Ordination Program (IBSTOP#7)
เปิดรับสมัครนิสิตนักศึกษาชาย ที่กำลังศึกษา หรือ
จบการศึกษาแล้วในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (อายุระหว่าง 18-28 ปี)
ภาคฤดูร้อน : อบรมระหว่างวันที่ 3 เมษายน - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
ภาคฤดูฝน : อบรมระหว่างวันที่ 5 มิถุนายน - 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
อ่านเพิ่มเติม: โครงการอุปสมบทหมู่ ธรรมทายาทพุทธศาสตร์สากล รุ่นที่ 7
พระวินัยบัญญัติ
พระวินัยบัญญัติ
อปฺปเกนปิ เมธาวี
ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ
อณุํ อคฺคึว สนฺธมํ ฯ
ผู้มีปัญญา มีความพินิจรอบคอบ
ย่อมตั้งตัวได้ด้วยต้นทุนแม้เพียงเล็กน้อย
เหมือนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่.
ที่มา : จุลลกเสฏฐิชาดก ขุ.ชา. ๒๗/๔
ศีล 227 ข้อ
ศีล 227 ข้อ
ของพระภิกษุสงฆ์
ศีล 227 ข้อ เป็นศีลหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ศีล 227 จัดเป็นสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์
ขั้นตอนการบวชพระ
ขั้นตอนการบวชพระ
พิธีการบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง โดยคำว่า "อุกาสะ" แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุกาสะ จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า
อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล
อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล
อานิสงส์ของการบวช
๑. ประโยชน์อานิสงส์ที่ตัวผู้ขอบรรพชาจะได้รับนี้อย่างหนึ่ง
๒. ประโยชน์อานิสงส์ที่ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดา เป็นต้น จะได้รับ นี้อย่างหนึ่ง
๓. ประโยชน์ที่เพื่อนมนุษย์สัตวโลกทั้งหลายจะพึงได้รับ ตลอดจนศาสนาจะพึงได้รับร่วมกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง
การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
ระเบียบการกราบพระรัตนตรัย
การกราบ นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ คือ หัวเข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑ ให้จรดลงแนบกับพื้น และกราบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบนั้น ควรกล่าวคำนมัสการให้จบเสียก่อน จึงค่อยนอบน้อมตัวลงกราบ อย่าน้อมตัวลงในขณะที่กล่าวคำนมัสการยังไม่จบ มิฉะนั้นคำนมัสการจะขาดหายไป และเป็นการกราบที่ไม่พร้อมเพรียงกัน ไม่น่าดู