ชีวิตสมณะ
- รายละเอียด
- ฮิต: 19662
ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร
4. อชาตศัตรูราชกุมารทรงกระทำปิตุฆาต
พระเทวทัตได้หมั่นไปเฝ้าอชาตศัตรูราชกุมาร แล้วถวายคำแนะนำยุยงเนืองๆว่า สมัยก่อนคนเราอายุยืน แต่สมัยนี้คนอายุสั้น ด้วยเหตุนี้อชาตศัตรูราชกุมารอาจจะสิ้นพระชนม์เสียก่อนที่ได้ขึ้นครองราชย์ก็ได้ ดังนั้นพระองค์จึงน่าจะปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วยึดครองราชสมบัติเสีย ส่วนตนเองก็จะปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วปกครองสงฆ์แทนเสียเอง
อ่านเพิ่มเติม: ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร 4.อชาตศัตรูราชกุมารทรงกระทำปิตุฆาต
- รายละเอียด
- ฮิต: 16336
ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร
3. พระเทวทัตผู้มีใจริษยา
ในช่วงที่อาชาตศัตรูราชกุมารได้เสด็จไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเอง เป็นเวลาที่พระเทวทัตผู้เป็นสาวกองค์หนึ่งของพระพุทธองค์กำลังหาทางเป็นใหญ่ ทั้งที่ตนเองมิได้บรรลุมรรคผลอันใดดังเช่นที่พุทธสาวกสำคัญองค์อื่นๆ จะบรรลุก็เพียงโลกียฌานเท่านั้น พระเทวทัตมีใจริษยาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอสีติมหาสาวก*ทั้งหลาย ที่มีผู้คนหลั่งไหลนำเครื่องสักการะไปน้อมถวายพร้อมบริบูรณ์ ส่วนตนเองนั้นไม่ใคร่มีโอกาสได้รับเครื่องสักการะใดๆเลย
อ่านเพิ่มเติม: ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร 3.พระเทวทัตผู้มีใจริษยา
- รายละเอียด
- ฮิต: 24696
ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร
1. ดินแดนประดิษฐานพระพุทธศาสนาแห่งแรก
ในสมัยพุทธกาล แคว้นมคธขึ้นชื่อลือนามว่าเป็นแว่นแคว้นที่อุดมสมบูรณ์ยิ่ง เพราะตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแม่น้ำ 3 สาย คือ จัมปา คงคาและโสณะ ไหลคดเคี้ยวไปตามพรมแดนด้านตะวันออก เหนือ และตะวันตก ตามลำดับตลอดทั้งปี
อ่านเพิ่มเติม: ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร 1.ดินแดนประดิษฐานพระพุทธศาสนาแห่งแรก
- รายละเอียด
- ฮิต: 6790
ที่มาแห่งสามัญญผลสูตร
2. ธรรมราชาพิมพิสาร
พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแคว้นมคธในขณะนั้นคือ พระเจ้าพิมพิสาร พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทั้งในด้านการบริหารประเทศและการสงคราม พระองค์ทรงดำเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ โดยทรงผูกไมตรีกับแคว้นมหาอำนาจต่างๆอย่างแยบคาย เป็นต้นว่า ได้อภิเษกสมรสกับพระนางเวเทหิ พระราชธิดาแห่งแคว้นโกศล เมื่อพระราชอำนาจมั่นคงแล้ว จึงทรงแผ่ขยายดินแดนด้วยการทำสงคราม เช่น ทรงกรีฑาทัพบุกเข้ายึดแคว้นอังคะ อันเป็นเหตุให้พระเจ้าพรมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นอังคะสิ้นพระชนม์ในสนามรบ พระเจ้าพิมพิสารคงจะทรงก่อเวรปาณาติบาตอีกมาก หากไม่ทรงพบและได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนทรงบรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบัน
- รายละเอียด
- ฮิต: 13365
ความหมายของสามัญญผล
คำว่า “สามัญญผล” ในสามัญญผลสูตร หมายถึง ผลหรืออานิสงส์ของความเป็นสมณะ หรือผลดีของการเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ครองชีวิตเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนานั้น ย่อมได้รับอานิสงส์มากมายนานัปการ ตามธรรมดาของสิ่งต่างๆในโลกนี้ สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นมักจะมีโทษมหันต์แฝงอยู่เป็นของควบคู่กัน แต่การเป็นนักบวชที่บริบูรณ์บริสุทธิ์อย่างแท้จริงในพระพุทธศาสนา จะบังเกิดแต่ผลดีเท่านั้น ไม่มีผลร้ายหรือโทษเลย
อ่านเพิ่มเติม: อานิสงส์ของความเป็นสมณะและผู้ที่จะได้รับประโยชน์