ชีวิตสมณะ
- รายละเอียด
- ฮิต: 15858
สามัญญผลลำดับที่ ๑
หลังจากบรรลุฌาน ๔ แล้ว ถ้าผู้เจริญภาวนายังสามารถประคองใจเป็นสมาธินิ่งแน่วแน่ต่อไปอีก ใจย่อมบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ผ่องแผ้ว สุกสว่างยิ่งขึ้น ปราศจากกิเลสและอุปกิเลส๑ จึงตั้งหมั่นไม่หวั่นไหว เป็นใจที่ละเอียดอ่อน จนสามารถบรรลุญาณระดับต้น หรือที่เรียกว่า “ญาณทัสสนะ” บังเกิดความรู้ขึ้นในจิตใจตนเองโดยอัตโนมัติว่า กายของคนเราซึ่งเกิดจากมารดาและบิดานี้ ประกอบด้วยรูปและวิญญาณ รูปคือร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยมหาภูต ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ส่วนวิญญาณนั้นหมายถึงใจนั่นเอง
- รายละเอียด
- ฮิต: 15372
สามัญญผลเบื้องสูง
พระธรรมเทศนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทำให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้สึกประทับใจ และศรัทธาในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ทรงเคารพเทิดทูนพระพุทธคุณไว้สูงสุด ทั้งประจักษ์แจ้งในพระอัจฉริยภาพของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเลิศล้ำกว่าเจ้าลัทธิอื่นๆ อย่างเทียบเทียมมิได้เลย ในลำดับนั้นเองพระพุทธองค์จึงทรงแสดงสามัญญผลที่ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นจนถึงขั้นสูงสุด อันได้แก่ วิชชา ๘ ซึ่งเป็นการบรรลุมรรคผลนิพพาน
- รายละเอียด
- ฮิต: 22979
ประเภทของสมาธิ
การบรรลุฌานทั้ง ๔ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ล้วนเป็นสามัญญผลอันเกิดจากการเจริญสมาธิภาวนาของพระภิกษุเอง สมาธิในพระพุทธศาสนาอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ระดับ คือ
- รายละเอียด
- ฮิต: 14547
สามัญญผลเบื้องกลาง คือ อานิสงส์หรือผลดีที่ภิกษุได้รับจากการเจริญภาวนา เมื่อภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นผู้สงบทั้งกาย วาจา และใจ อย่างแท้จริง ครั้นเมื่อเจริญภาวนาย่อมบรรลุฌานไปตามลำดับ ๆ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า
- รายละเอียด
- ฮิต: 25828
๖. เป็นผู้สันโดษ
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงสติสัมปชัญญะแก่พระเจ้าอชาตศัตรูจบลงแล้ว จึงทรงแสดงสันโดษต่อไปว่า “มหาบพิตรอย่างไรภิกษุ จึงชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ”
ตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ทรงวิสัชนาด้วยพระองค์เองว่า
อ่านเพิ่มเติม: ข้อปฏิบัติเบื้องต้นของพระภิกษุ ๖.เป็นผู้สันโดษ