• Description slide 1

  • Description slide 2

  • Description slide 3

  • Description slide 4

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

สามัญญผลลำดับที่ ๖

600216_02.jpg - 81.34 kB

        เมื่อผู้เจริญภาวนา สามารถประคองจิตให้เป็นสมาธิแน่วแน่ต่อไปอีก จิตย่อมบริสุทธิ์ขึ้น ผ่องแผ้วสุกสว่างขึ้นอีก ย่อมปราศจากกิเลสและอุปกิเลส จึงยิ่งทวีประสิทธิภาพในการงานยิ่งขึ้นอีก ยังผลให้บรรลุญาณที่ทำให้ระลึกชาติแต่หนหลังได้ว่าชาติไหนเป็นอะไร เกิดที่ไหน มีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร เป็นต้น ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า

 

       “ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มจิตไปเพื่อ “ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ” เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง  สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดหลายลังวัฏฏกัปบ้าง (ลังวัฏฏกัป = ระยะกาลเมื่อจักรวาลอยู่ในระหว่างพินาศ) ตลอดหลายวิวัฏฏกัปบ้าง (วิวัฏฏกัป = ระยะกาลเมื่อจักรวาลอยู่ในระหว่างตั้งขึ้นใหม่) ว่าในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโครตอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น แล้วเสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม่ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโครตอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ (การยกขึ้นชี้แจง) ด้วยประการฉะนี้

 

      มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านแม้นั้นไปบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้น  เราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส นุ่มนวล ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มจิตไปเพื่อ “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ” เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก (ดังกล่าวแล้ว) มหาบพิตร นี้แหละสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้บงประณีตกว่าสามัญญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ” ๑   ญาณที่ทำให้ระลึกชาติแต่หนหลังได้นี้ มีศัพท์ทางศาสนาโดยเฉพาะว่า “ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ”

 

      อนึ่ง ประวัติความเป็นมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ครั้งก่อนที่จะเป็นพระพระโพธิสัตว์ และขณะที่เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญทศบารมีอยู่ในช่วงเวลาที่เสวยพระชาติต่างๆอันยาวนานที่พระองค์ตรัสเล่าไว้ ดังมีปรากฏอยู่ในชาดกที่สำคัญ เช่น เวสสันดรชาดกนั้น ล้วนเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งสิ้น

 

------------------------------------------------------------------------------------------------

๑ สามัญญผลสูตร ที.สี ๙/๑๓๖/๑๐๗

 

ค้นหา

ยอมรับเงื่อนไข ข้อมูลส่วนบุคคล