ชีวิตสมณะ

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน

 580525_04.JPG - 83.09 kb

สิ่งแรกที่ควรพิจารณาก็คือ คำว่า “บรรพชา"

      คำว่า “บรรพชา”  โดยรากศัพท์เดิมแปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง หรือการทำให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ  แต่เดิมที่เดียวคำว่า “บรรพชา” หมายความว่า บวช เช่น สิทธัตถราชกุมารเสด็จออกบรรพชาเป็นต้น แต่ในปัจจุบันคำว่า “บรรพชา” หมายถึงบวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุใช้คำว่า “อุปสมบท” และมักจะใช้ควบกันว่า “บรรพชาอุปสมบท” หรือโดยทั่วไปมักนิยมพูดกันว่า “บวช” เมื่อบวชแล้วก็ได้ชื่อว่า “บรรพชิต”  บรรพชิตทั้งหลายที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ก็เพื่อเว้นความชั่วทุกอย่าง ในขณะเดียวกันก็ต้องพยายามปฏิบัติตนให้ถึงซึ่งความเป็นผู้ประเสริฐ ด้วยการสร้างบุญกุศลทั้งปวงให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

ให้เรตสมาชิก: 3 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

 581003_14.jpg - 93.11 kb

คุณธรรมที่ทำให้เป็นผู้บริสุทธิ

      ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสอธิบายถึงสามัญญผลเบื้องสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป พระพุทธองค์ทรงวางรากฐานความเข้าใจในเรื่องของการบวชให้กับพระเจ้า

อชาตศัตรู ดังต่อไปนี้

ให้เรตสมาชิก: 2 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

 581003_15.jpg - 88.02 kb


      การประกาศพระพุทธคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้ที่จริงก็คือ การแนะนำตัววิทยากรให้ผู้ฟังรู้จัก ดังที่นิยมกระทำกันอยู่ในการสัมมนาหรือการประชุมต่างๆ ใน

ปัจจุบัน ในการประขุมสัมมนาโดยทั่วไปจะมีพิธีการหรือผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้แนะนำวิทยากร แต่ในกรณีที่ไม่มีผู้อื่นแนะนำให้หรือแนะนำไม่สมบูรณ์ วิทยากรก็จำเป็น

จะต้องแนะนำตนเองให้ที่ประชุมหรือผู้ฟังรู้จักตนอย่างถูกต้อง ก่อนที่จะอภิปรายหรือแสดงปาฐกถา ในกรณีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เช่นเดียวกัน ในเมื่อไม่มีผู้ใด

แนะนำ พระองค์ก็ทรงจำเป็นต้องแนะนำพระองค์เองต่อพระเจ้าอชาตศัตรู

ให้เรตสมาชิก: 4 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

พระสูตรที่ต้องศึกษา

          การศึกษาสามัญญผลสูตร จะช่วยให้เกิดความเข้าใจว่า เหตุใดมนุษย์เราจึงควรบวช เมื่อบวชแล้วจะต้องปฏิบัติตนอย่างใดบ้าง และเมื่อปฎิบัติตนตามขั้นตอนเป็นลำดับไปจนถึงที่สุด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประพฤพรหมจรรย์ โดยบริบูรณ์แล้ว จะเกิดผลดีต่อผู้ประพฤติเองอย่างไรบ้าง ความรู้เหล่านี้จะทำให้ผู้ที่ศึกษาตรองเห็นด้วยปัญญาว่า การดำเนินชีวิตเป็นนักบวชแท้ๆในพระธรรมวินัยนั้นประเสริฐสุด ไม่มีการดำเนินชีวิตแบบใดๆจะเทียบได้เลย 

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน

 ชีวิตนักบวชนั้นประเสริฐสุด    

         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสามัญญผลสูตรว่า  “ฆราวาสเป็นทางคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง”  หมายความว่า การครองชีวิตเป็นฆราวาสนั้นย่อมมีโอกาสปฏิบัติกุศลธรรมได้น้อยกว่าการเป็นนักบวช ดังที่เราท่านเป็นประจักษ์แจ้งแก่ใจกันดี ทั้งนี้เพราะการดำรงตนเป็นฆราวาสต้องใช้เวลาในวันหนึ่งให้หมดไปกับการทำมาหากินเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว จนบางคนไม่มีเวลาแม้แต่จะสวดมนต์ไหว้พระในแต่ละวัน

ค้นหา

ยอมรับเงื่อนไข ข้อมูลส่วนบุคคล