ธรรมะจากพระไตรปิฎก

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน

      มนุษย์มาจากคำว่า “มน” (อ่านว่า มะนะ) แปลว่า ใจ รวมกับคำว่า อุษย์ หรือ อุตม (อุดม) แปลว่า สูง มนุษย์จึงหมายถึง ผู้มีใจสูง ใจรุ่งเรือง และกล้าแข็ง ภพภูมิมนุษย์จัดเป็นภูมิหนึ่งใน ๓๑ ภูมิ หรือหากจัดอยู่ในภพสาม มนุษย์ก็อยู่ในกามภพ        อันเป็นที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม ภพนี้เป็นภพของผู้ที่ยังมีความใคร่          ความอยาก ความพึงพอใจอยู่ในจิตใจ ซึ่งภูมิที่อยู่ในภพนี้มีทั้งหมด ๑๑ ภูมิ ได้แก่     มนุสสภูมิ ๑ อบายภูมิ ๔ และเทวภูมิ ๖

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

      สรรพสิ่งย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา บางสิ่งที่เคยมีคุณค่า ณ ช่วงเวลาหนึ่ง แต่ทว่าเมื่อเวลาผ่านไปมีสิ่งใหม่เข้ามาแทนที่ ของเดิมที่เคยมีคุณค่าก็อาจ  กลายเป็นเพียงความทรงจำในอดีต ทั้งที่ความจริงแล้วคุณค่าและความสำคัญของสิ่งนั้นไม่ได้ลดลงเลย เพียงแต่ถูกบดบังจนทำให้คุณค่าภายในที่แท้จริงถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดาย คัมภีร์ใบลานแม้ศักดิ์สิทธิ์สูงค่าก็ไม่อาจพ้นจากสภาวธรรมนี้ไปได้  

ให้เรตสมาชิก: 4 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

 

"พระไตรปิฎก" แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำ ๆ ว่า พระ+ไตร+ปิฎก 

คำว่า พระ เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง  ,  คำว่า ไตร แปลว่า ๓  ,  คำว่า ปิฎก แปลได้ ๒ อย่าง คือ คัมภีร์หรือตำราอย่างหนึ่ง และ กระจาดหรือตะกร้าอย่างหนึ่ง ที่แปลว่ากระจาดหรือตะกร้า หมายความว่า เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหวดหมู่ ไม่ให้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของฉะนั้น โดยนัยนี้  ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ ( และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา ) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก  สุตตันตปิฎก  และอภิธรรมปิฎก

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน

    

        “พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตั้งมั่นอยู่ในปัญญาและศีล  เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทานในท่านเหล่านี้ ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก  พระสงฆ์แลเป็นผู้มีคุณยิ่งใหญ่ไพบูลย์  ไม่มีที่เปรียบได้ เหมือนทะเลที่ตะคาดคะเนได้ว่ามีน้ำเท่านี้ๆ ...ชนเหล่าใดถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ทักขิณาของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในโลกระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ กำจัดมลทิน คือความตระหนี่พร้อมด้วยรากเหง้า ชนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงฐานะอันเป็นสวรรค์ (ทัททัลลวิมาน)

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

กัณหฤาษี

            มนุษย์มักจะเรียกร้องต้องการอิสรภาพและความสุข  แต่ในความเป็นจริง  มนุษย์กลับจองจำตนเองไว้ภายในกำแพงแห่งลาภ  ยศ  สรรเสริญ  อันเป็นกำแพงซึ่งขวางกั้นมนุษย์ไว้ไม่ให้รู้อิสรภาพและความสุขที่แท้จริง ถึงอย่างนั้น  มันก็มิอาจปิดบังสายตาของผู้มีปัญญาได้  ดังนั้น  แม้ชีวิตภายในกำแพงลาภ  ยศ  สรรเสริญนี้  จะหอมหวลเย้ายวนสักปานใด  ก็ยังมีผู้ยินดีจากไปอย่างไม่เหลียวหลัง

ค้นหา

ยอมรับเงื่อนไข ข้อมูลส่วนบุคคล