ธรรมะ
- รายละเอียด
- ฮิต: 4105
อาบัติ ๗ กอง
อาบัตินั้นแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ ๒ ประการ คือ ครุกาบัติและลหุกาบัติแต่เมื่อแยกประเภทโดยชื่อแล้วมี ๗ ประการ เรียกตามโบราณว่ามี ๗ กองชื่ออาบัติเหล่านี้เป็นสำคัญ เป็นเครื่องหมายสำหรับจดจำว่ามีโทษหนักหรือเบาอย่างไร และเป็นเครื่องกำหนดในการระบุความผิดว่าเมื่อล่วงละเมิดเช่นนี้ชื่อว่าต้องอาบัติอะไร
อาบัติ ๗ กองนั้นคือ
๑. ปาราชิก
๒. สังฆาทิเสส
๓. ถุลลัจจัย
๔. ปาจิตตีย์
๕. ปาฏิเทสนียะ
๖. ทุกกฏ
๗. ทุพภาษิต
- รายละเอียด
- ฮิต: 4038
อาบัติและโทษ
อาบัติ แปลว่า การต้อง, ความต้อง หมายถึง การต้องโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ หรือหมายถึง โทษที่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทที่มีบัญญัติห้ามไว้จะต้องได้รับกิริยาที่ล่วงละเมิดสิกขาบทเช่นนั้น บางทีก็เรียกว่า ต้องอาบัติ เช่น ต้องสังฆาทิเสส ต้องปาจิตตีย์ เมื่อต้องอาบัติแล้วย่อมได้รับโทษ ซึ่งโทษเพราะล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นจำแนกเป็น ๓ ระดับคือ
- รายละเอียด
- ฮิต: 6462
ประเภทพระวินัยบัญญัติ
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้เสด็จอุบัติมาเพื่อทรงแสวงหาทางตรัสรู้แล้วเที่ยวจาริกสั่งสอนแนะนำชาวโลก รื้อขนชาวโลกให้พ้นจากทุกข์ทั้งมวล อันเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ด้วยพระองค์เองเท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงกำหนดตั้งกลุ่มบุคคลเพื่อเป็นตัวอย่างของสังคมขึ้นมากลุ่มหนึ่งกลุ่มบุคคลนี้คือกลุ่มที่เรียกกันว่า ภิกษุสงฆ์
- รายละเอียด
- ฮิต: 4002
ความหมายพระวินัย
วินัย แปลว่า การกำจัด, การเลิกละ, ข้อนำไปให้วิเศษ, ข้อนำไปให้แจ้ง, ข้อนำไปให้ต่าง
มีอธิบายตามลำดับความหมายนั้นว่า
การกำจัด หมายถึง เป็นเครื่องมือสำหรับกำจัดอาสวกิเลส เพราะเป็นข้อสำหรับฝึกหัดพัฒนากายกับวาจาให้สงบเย็น เรียบร้อย
การเลิกละ หมายถึง วิธีการฝึกหัดอบรมเพื่อเลิกละอัชฌาจารคือความประพฤติชั่ว ความประพฤติเสียมารยาท ความประพฤติไม่เหมาะสมแก่สมณะ เมื่อปฏิบัติตามวินัยย่อมเลิกละอัชฌาจารนั้นๆ ได้
- รายละเอียด
- ฮิต: 4077
วิธีการบัญญัติพระวินัย
พระพุทธองค์มิได้ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ล่วงหน้าว่าห้ามทำอย่างนั้น ห้ามปฏิบัติอย่างนี้เมื่อทำแล้วจะมีโทษอย่างนั้นอย่างนี้ต่อเมื่อมีเหตุเกิดขึ้นคือ มีภิกษุหรือภิกษุณีไปประพฤติอย่างนั้นอย่างนี้เข้า ผู้คนทั่วไปเห็นแล้วพากันตำหนิโพนทะนาว่าไม่เหมาะไม่ควรจึงนำมากราบทูลพระพุทธองค์พระพุทธองค์ ทรงเห็นพ้องด้วยจึงทรงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงสอบถามด้วยพระองค์ เอง เมื่อได้ความจริงก็ทรงตำหนิแล้วชี้โทษแห่งการประพฤติเสียหายเช่นนั้นว่า ไม่ควรทำไม่ควรประพฤติทั้งตรัสอานิสงส์แห่งการสำรวมระวังจากนั้นจึงทรง บัญญัติเป็นสิกขาบทไว้เป็นบรรทัดฐาน พร้อมทั้งกำหนดโทษหนักเบาตามความ ผิดกำกับไว้ด้วย ซึ่งเรียกโทษนั้นว่า อาบัติ
ต่อมาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้วนั้นๆ ตึงเกินไปจนภิกษุทั้งหลาย เกิดอาการกลัวจะปฏิบัติผิดบ้าง หย่อนเกินไปจนมีผู้หลบเลี่ยงล่วงละเมิดบ้าง จึงทรงบัญญัติเพิ่มเติมสิกขาบทนั้นๆเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป พระบัญญัติที่ทรงเพิ่มเติมเช่นนี้เรียกว่า อนุบัญญัติ ซึ่งมีปรากฏรวมอยู่สิกขาบทข้อนั้นๆ