• Description slide 1

  • Description slide 2

  • Description slide 3

  • Description slide 4

ความรู้ในการบวชพระ

ให้เรตสมาชิก: 3 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

หลังจากที่ ธรรมทาทยาท ได้รับการ บรรพชา สามเณร ด้วยพิธีกรรมใหญ่เรียบร้อย เหล่าสามเณรธรรมทายาทได้แยกย้าย เดินทางไป อุปสมบท ณ สถานที่ตำบล หรือ อำเภอ ศูนย์อบรมฯทั่วประเทศไทย ด้วยเหตุที่ว่า การอุปสมบท นั้น สามารถ ทำพิธีกรรมได้ ครั้งละ 3 รูป และ ต้องมี คณะสงฆ์เป็นพยาน

การอุปสมบท หมายถึง การบวชเป็นพระ ซึ่งในพุทธบัญญัติท่านกำหนดไว้ว่า ผู้บวชจะต้องมีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป และจะต้องถือศีล ๒๒๗ ข้อ การประกอบพิธีกรรมนี้ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า จะต้องกระทำภายในพระอุโบสถหรือในโบสถ์เท่านั้น ทั้งนี้ประกอบด้วยหมู่คณะสงฆ์ จำนวน ๒๘ รูป มีพระอุปัชฌาย์ ๑ พระกรรมวาจาจารย์ ๑ และพระอนุสาวนาจารย์ ๑ (เรียกว่าพระคู่สวด) อีก ๒๕ รุป เรียกว่าพระอันดับ (มีเพียง ๑๐ รูปขึ้นไป ไม่ถึง ๒๕ รูปก็ใช้ได้)

บรรพชาอุปสมบทที่ใช้ในประเทศไทยสมัยปัจจุบันมีใช้อยู่ ๒ แบบ คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง สำหรับ โครงการอุปสมบทหมู่ ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ส่วนใหญ่ ใช้แบบอุกาสะ

การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่าง ที่เรียกว่าบริขาร 8 ( ผ้าหลัก 4 ผืน คือสบง จีวร สังฆาฏิ ประคดคาดเอว , เหล็ก 3 คือ บาตร มีดโกน เข็ม , น้ำ 1 คือธมกรก ) จึงจะสามารถบวชได้ โดยปกติ ในพิธีกรรม จะนำเฉพาะบาตร กับ ผ้าจีวร เข้าไปเท่านั้น เริ่มต้นจาก สามเณรสะพายบาตรเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำขออุปสมบท

จากนั้น พระคู่สวด การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ เช่น ไม่เป็นโรคน่ารังเกียจ ไม่ทุพลภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ไม่มีหนี้สินติดตัว

ภาพการซักซ้อมอันตรายิกธรรม

 

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน

สำหรับ โครงการ แสนรูป ฤดูร้อน วัดใหญ่ปทุมธานี จัด วันที่ 26 มีนาคม 2554 เวลา 8.00น.ผู้ปกครองไม่ต้องนำบาตรจีวรมาเอง
สำหรับ วัดต่างๆ ในโครงการฯ  จังหวัด อื่นๆ จะมีวันใกล้เคียงกัน กรุณา ติดต่อผู้ประสานงานศูนย์อบรมดังกล่าว

จุดประสงค์ พิธี ขอขมา  เพื่อให้ นาค ธรรมทายาท ระลึกนึกถึงคุณ บิดามารดา หรือ ผู้ปกครอง ที่ได้ชุบเลี้ยง ดูแล จนกระทั่ง ได้คุณสมบัติ พร้อม ออกบวช และ ขอขมา สิ่งที่ได้ล่วงเกินกันและกัน ในอดีต เพื่อให้เป็น อโหสิกรรม กรรมจะได้เบาบาง ซึ่งกันและกัน
จุดประสงค์ พิธี ถวาย ไตรจีวร บาตร แด่นาคธรรมทายาท เพื่อ สร้าง มหาทาน แก่ ผู้เตรียมตัว เป็น ผู้บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ

สำหรับโครงการ บรรพชาอุปสมบทหมู่ ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ได้แยก พิธีกรรม(ขอขมา)นี้ สำหรับ บิดา มารดา และ ผู้ปกครองนาคธรรมทายาท  เพราะ จะมีการจัดพิธีกรรมบรรพชารวมกันทั้งประเทศอีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลามาก

ขั้นตอน ลำดับ พิธีกรรม
1.ผู้ปกครอง-ญาติ-มิตรลงทะเบียนรับบาตรและผ้าไตร

2.ติดโบว์และแจ้งหมายเลขให้ผู้ที่เป็นตัวแทนมอบบาตรและไตร

3.เชิญผู้ปกครองและคณะญาติมิตรเข้าประจำพื้นที่ตามหมายเลขของ (นาค)ธรรมทายาทที่ติดไว้ที่เสื่อ

4.สร้างบรรยากาศด้วยเสียงพิธีกร และ เพลงบรรเลง

5.เมื่อผู้ปกครองและคณะญาติมิตรมาพร้อมเพรียงกันแล้ว  พิธีกรนำกล่าวคำอธิษฐานบาตรและผ้าไตร

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

ลำดับ พิธีกรรมงานบวช (เฉพาะ บรรพชา )
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2554
เนื่องด้วย พิธีกรรมงานบวช (บรรพชา) ต้องการความศักดิ์สิทธิ์ และ ความสงบ อีกทั้ง เป็นต้นแบบ ต้นบุญ ที่ดีแก่ ชาวพุทธ ทั้งในปัจจุบัน และ อนาคตสืบไป ทางฝ่ายพิธีกรรม จึงได้มีรูปแบบ การจัดการลำดับดังต่อไปนี้

ภาพรวมของพิธีกรรม
1.พิธีเวียนประทักษิณ
2.พิธีวันทาเจดีย์
3.ถ่ายภาพหมู่ร่วมกับพระอุปัชฌาย์
4.พิธีบรรพชา
5.พิธีขอสรณคมน์และศีล-ขอนิสัย
6.ถ่ายภาพหมู่ครั้งประวัติศาสตร์

1.พิธีเวียนประทักษิณ
จุดประสงค์ เพื่อ เดิน เวียน ระลึกนึกถึง คุณของ พระรัตนตรัย อันประกอบ ด้วย คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ อีกทั้ง กล่อมเกลาจิตใจ เหล่านาค เพื่อที่จะ เตรียมตัวเป็น พระภิกษุต่อไป
การเวียน นาค จะ ถือ ดอกบัว   เวียน รอบ พระ เจดีย์ หมุนขวา ตามเข็มนาฬิกา โดย ท่านเจ้าภาพ ผู้อุปถัมถ์ จะ อยู่ นำหน้า นาค
เวลาประมาณ 5.30 -6.30 น.


2.พิธีวันทาเจดีย์
จุดประสงค์ เพื่อ สักการะ พระเจดีย์ ที่ประกอบ ด้วยพระพุทธรูป นับล้านองค์ ด้วย ดอกไม้ พานพุ่ม
วิธีการ นาค ธรรมทายาท จะ นำ พานพุ่ม ดอกไม้  มาสักการะ หน้า พระเจดีย์ ฝั่ง ทิศใต้ รวมถึง จุดธูป เทียน
เวลา 6.45 น.



วันทาเจดีย์

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

• บวชแสนรูป..ดีกว่าบวชเองอย่างไร
การบวชพระแสนรูป เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ และไม่ใช่ สิ่งที่ใครคนใดคนหนึ่งคิดจะทำ ขึ้นมาก็ทำ ได้ ต้องเกิดจากการ รวมพลังพุทธบริษัท 4 ทั้งแผ่นดินจึงจะสำ เร็จ ซึ่งเมื่อทำ สำ เร็จ แล้ว ก็จะส่งผลต่อความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา ให้ปักหลัก
อยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยอย่างยืนยาว
ผู้ที่บวชแสนรูป ในครั้ง นี้ ถือ เป็นเกียรติประวัติ ชีวิต อัน สูง สุด เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นผู้กอบกู้ฟื้นฟูศีลธรรมโลกให้หวนกลับคืนมา เพราะการบวชเองเดี่ยว ๆ และรอวันเวลาให้มีพระนักปฏิบัติเกิด ขึ้นทีละรูป สองรูป ไม่ทันต่อการทัดทานกระแสโลกที่เสื่อมถอย
ลงไปเรอื่ ย ๆ ดังนั้น ผู้บวชในโครงการนี้ จะได้บุญพิเ ศษเหนือ กว่า การบวชเองแบบธรรมดา ๆ ทั่วไป ซึ่ง ผลบุญ จากการกอบกู้ฟ้นฟู พระพุทธศาสนาให้เข้มแข็ง และต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ ยืนยาวนี้เอง จะเป็นทางลัดที่ย่นย่อภพชาติแห่งการเวียนว่าย
ตายเกิดให้ลดน้อยลง และในฐานะที่เป็นผู้องอาจในการอุ้มชู พระพุทธศาสนาให้เฟื่องฟูรุ่งเรือง ก็จะมีอานิสงส์ทำ ให้ชีวิตไม่ ต้องพบกับความตกต่ำ จะมีฤทธิ์ไม่มีประมาณ เหมือนการ ประกอบเหตุของพระโมคคัลลานะอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีความรับผิดชอบต่อหมู่คณะ ต่อพระพุทธ ศาสนา อีกทั้งการใช้ปัญญาพิจารณาตริตรอง จนเห็นบุญที่จะ เกิดแก่ตนเอง แล้วรีบขวนขวายทำ ก็จ ะทำ ให้เป็นผู้มีปญญามาก
เมื่อบุญส่งผล ถึงคราวจะบรรลุมรรคผลนิพพาน ก็จะบรรลุได้ โดยง่าย
นอกจากนี้ หลายคนยังถือโอกาสตั้งจิตอธิษฐาน เนื่องจาก การบวชครั้งนี้ต้องลางานมา ว่าขอให้ผลบุญอันมหาศาลที่เกิด จากการยอมสละทรัพย์ในช่วงบวช คือ ไม่ได้เงินทองจากการทำ มาหากิน ก็ขอให้บังเกิดอริยทรัพย์ ซึ่งมีค่าสูงกว่าโลกิยทรัพย์ชนิด
เทียบกันไม่ได้มาทดแทน และเมื่อจบโครงการแล้ว จะกลับไป ประกอบอาชีพ การงานใด ก็ขอให้ชึวิต เจริญ รุ่งเรืองกว่าทึ่ผ่านมา สามารถฟันฝ่าวิกฤต และอุปสรรคต่าง ๆ นานา มีความเจริญ ก้าวหน้าในชีวิตทุกด้านอย่างสูงสุดเทอญ...

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน

หน้าที่ชาวพุทธแท้

๑. ฟังธรรม สิงที่ชาวพุทธจะต้องรู้ คือ คืกษาพุทธประวิติ จะได้รู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือใคร เพี่อให้เกิดศรัทธาและมีปัญญาในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง คืกษา หลักธรรม เช่น ฆราวาสธรรม และกฎแห่งกรรม จะทำให้เข้าใจความเป็นจริงของโลกและ ชีวิตได้อย่างถูกต้อง เมื่อรู้ว่าคำสอนคือย่างไร แล้วหน้าที่ต่อไปก็คือลงมีอปฏิบัติตามคำสอน ซึ่งสรุปเป็นสูตรหลักของชีวิต คือ ละชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส คืกษาวิถีชาวพุทธ เพื่อ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง คืกษาหลักในการบำเพ็ญบุญและพิธีกรรม ทางศาสนา เช่น วันพระ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา เป็นต้น

 

๒. เผยแผ่ธรรมะหรือขยายความรู้สึกดี ๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติไม่ควรเก็บไว้ เฉย ๆ แต่ต้องนำไปประกาศให้ชาวโลกได้รู้ต้วย ต้องมีหัวใจของยอดกัลยาณมิตรในการ สร้างคนให้เป็นคนดี จะอาศัยพระภิกษุทำหน้าที่เผยแผ่อย่างเดียวไม่ได้ ฝ่ายบ้านและวัดจะ ต้องทำงานประสานกัน พระพุทธศาสนาจึงจะเจริญรุ่งเรือง เช่น ชาวพุทธต้องแสดงตนเป็น พุทธมามกะที่ดี เพื่อให้ผู้อื่นไต้พิสูจน์ผลการปฏิบ้ตตามคำสอนว่าดีจริง จนเกิดความเลื่อมใส และอยากประพฤติปฏิบัติตาม

 

๓. ทำนุบำรุงและปกป้องพระศาสนา เราชาวพุทธแท้ต้องไม่นิ่งดูดาย ดังที่คุณครู ไม่ใหญ่ได้สอนพวกเราไว้ว่า "เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา เรื่อง พระศาสนาให้เอาอุเบกขา วาง ..แล้วก็ลุย" โดยต้องตั้งใจรักษาสมบัติของพระศาสนา อันได้แก่ คำสอนของพระพุทธองค์ ต้องรักษาให้มั่น อย่าให้ใครมาบิดเบือนได้ นำความรู้ ความเข้าใจใน ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาเป็นเกราะป้องกันภัย ให้พระศาสนา

 

ศาสนวัตถุและศาสนบุคคล ต้องช่วยกันดูแลวัดวาอารามอันเป็นแหล่งคำสอน และอุปัฏฐากดูแลพุทธบุตร สนับสนุนงานพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง

 

สรุปได้ว่า หน้าที่ของชาวพุทธ คือ เข้าวัดฟังธรรม ปฎิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ และสนับสนุนงานพระศาสนา

 

เมื่อชาวพุทธปฏิบัติตามหลักการนี๋ได้ ความเป็นชาวพุทธแท้ก็จะบังเกิดขึ้น ทำให้ เป็นผู้มีศรัทธา ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เป็นผู้มีคืลบริสุทธิ์ เข้าใจกฎแห่งการกระทำ ไม่งมงายใน โชคลาง จะมีตถาคตโพธิศรัทธา ตั้งมั่น ไม่ถึอมงคลตื่นข่าวในสิ่งที่ถือกันว่าขลังหรึอศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้มีโอกาสตักตวงบุญในพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่ ละโลกแล้วก็มีสุคติสวรรค์เป็นที่ไป เรา จะได้ชื่อว่าเป็นดุจข้างเท้าหลังที่ทรงพลังในการช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เป็นที่พึ่งของ ชาว โลก สืบ ไป

 

...ชนเหล่าใดมีสติส่งไปถึงพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ

 

โครงการตักบาตรพระ ๕ แสนรูป ๗๖ จังหวัดทุกวัดทั่วไทย ตลอดระยะเวลา 9 ปี ๖ เดือนที่ผ่านมา ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของคำว่า "ให้" กับ "ไม่ให้" ว่าต่างกัน อย่างไร เพราะเริ่มสัมผัสได้ถึงกระแสแห่งสันติสุขที่แผ่ขยายออกไปกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ที่สำคัญ ที่สุดคือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง คือ ความสุข และความเบิกบานในบุญทับทวี มากยิ่งขึ้น ดังโอวาทของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่ยัง ประทับอยู่ในดวงใจว่า "ผู้ให้ กับผู้ไม่ให้ แตกต่างกันด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย คนที่เป็นผู้ให้จะร่ำรวย สมบูรณ์ มีความสุขสบายกว่าผู้ไม่ให้ ไม่ว่าจะไปเกิดเป็นชาวสวรรค์ ไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นพระหรือเป็นนักบวชก็ตาม เพราะฉะนั้น จึงควรหมั่นทำทานบ่อย ๆ เราจะได้สร้างบารมีอย่างสะดวกสบายไปทุกภพทุกชาติ"

 

ดังนั้น ใครที่เคยสงสัยว่า ทำไมชาตินี้ตนเองถึงสร้างบารมีได้สำบากนัก คำตอบก็ คือ เป็นเพราะทานบารมีในอดีตที่สังสมมานั้นยังน้อยอยู่ ดังนั้น เวลาในปิจจุบันคือสิงที่ สำคัญที่สุด เพราะเป็นโอกาสทองให้เราได้สร้างบารมี เพื่อออกแบบชีวิตของเราเองให้รวย แข็งแรง ฉลาด สมปรารถนาในสิงที่ดีงาม ด้วยการทำทาน รักษาคืล และเจริญภาวนา ชีง จะเป็นทางมาแห่งความสุขความสำเร็จของชีวิตที่แท้จริงทั้งในภพนี้และภพหน้าตราบวันเข้าส่ พระนิพพาน

 

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

ประโยชน์ของการอุปสมบท
โดย พระอาจารย์ ศุภโชค สุภคโค พระอาจารย์  ผู้มีประสบการณ์ ดูแล การอบรมบวชพระ วัดพระธรรมกาย มาหลายปี



ในสมัยพุทธกาลมีพระราชาอยู่พระองค์หนึ่ง พระนามว่า “พระเจ้าอชาติศัตรู” มีอยู่วันหนึ่งท่านทรงทูลถามปัญหากับพระพุทธเจ้าว่า ผู้ที่ศึกษาวิชาชีพ เช่น ศึกษาวิชาการทำไร่ ทำนา ทำสวน ช่างไม้ การคำนวณ พอเขาศึกษาวิชาชีพเสร็จแล้วก็เอาวิชาชีพนี้ ไปเลี้ยงชีพ ได้ทรัพย์มาก็เลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวให้เป็นสุข และยังมีทรัพย์เหลือไว้ทำบุญได้อีกด้วย นี่คือประโยชน์จากการศึกษาวิชาชีพ ถูกมั้ยเอ่ย คราวนี้พระเจ้าอชาติศัตรูท่านก็ถาม พพจ.ต่อว่า แล้วการบวชละ การบวชพระ บวชแล้วเห็นประโยชน์ในปัจจุบันละ แบบบวชแล้วประโยชน์เห็นๆเลย คืออะไร

ให้เรตสมาชิก: 3 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
คุณสมบัติผู้ขอบรรพชาอุปสมบทตามกฏมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๖)
ว่าด้วยการแต่งตั้งถอดถอนพระอุปัชฌาย์
หมวด ๓ หน้าที่พระอุปัชฌาย์


ข้อ ๑๓ พระอุปัชฌาย์ต้องพบและสอบสวนกุลบุตร
ให้ได้คุณลักษณะก่อน จึงรับให้บรรพชาอุปสมบทได้คุณลักษณะของกุลบุตรนั้น มีดังนี้


(๑) เป็นคนมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบล หรืออำเภอที่จะบวช และมีหลักฐาน มี
อาชีพชอบธรรม หรือแม้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอื่น แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏ
ว่าเป็นคนมีหลักฐาน มีอาชีพชอบธรรม มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งไม่ใช่คนจรจัด


(๒) เป็นสุภาพชน มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ไม่มีความประพฤติเสียหาย
เช่น ติดสุรา หรือยาเสพติดให้โทษ เป็นต้น


(๓) มีความรู้ อ่านและเขียนหนังสือไทยได้


(๔) ไม่เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ


(๕) เป็นผู้ปราศจากบรรพชาโทษ และมีร่างกายสมบูรณ์ อาจบำเพ็ญสมณกิจได้
ไม่เป็นคนชราไร้ความสามารถ หรือทุพพลภาพ หรือพิกลพิการ


(๖) มีสมณบริขารครบถ้วน และถูกต้องตามพระวินัย


(๗) เป็นผู้สามารถกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบทได้ด้วยตนเอง และถูกต้องไม่วิบัติ


ข้อ ๑๔ พระอุปัชฌาย์ ต้องงดเว้นการให้บรรพชาอุปสมบท แก่คนต้องห้ามเหล่านี้


(๑) คนทำความผิดหลบหนีอาญาแผ่นดิน


(๒) คนหลบหนีราชการ


(๓) คนต้องหาในคดีอาญา


(๔) คนเคยถูกตัดสินจำคุก โดยฐานเป็นผู้ร้ายสำคัญ


(๕) คนถูกห้ามอุปสมบทเด็ดขาดทางพระศาสนา


(๖) คนมีโรคติดต่อเป็นที่น่ารังเกียจ เช่น วัณโรคในระยะอันตราย


(๗) คนมีอวัยวะพิการจนไม่สามารถปฏิบัติกิจพระศาสนาได้

ขอบคุณ
www.ukasa.net







E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Copyright (c) ๒๐๐๔ All rights reserved.

ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน

 

พระ ภิกษุ บรรพชิต และ สมณะ


พระ


มาจากคำว่า วร แปลว่า ผู้ประเสริฐ ผู้ควรกราบไหว้บูชา หมายถึงผู้ที่ผ่านการอุปสมบทแล้ว



ภิกษุ

 
  ภิกษุ แปลว่า ผู้ขอ หมายถึง ผู้ขอ ผู้เข้าถึงภิกษาจาร ผู้สมัญญา ผู้ปฏิญญา ผู้ทรงแผ่นผ้าที่ถูกทำลาย ผู้กำลังทำลายบาปอกุศลทั้ง

หลาย ผู้ทำลายบาปอกุศลทั้งหลายแล้ว ผู้ละกิเลสโดยจำเพาะส่วน ผู้ละกิเลสโดยไม่จำเพาะส่วน ผู้เป็นพระเสขะ ผู้เป็นพระอเสขะ ผู้ไม่

ใช่พระเสขะและไม่ใช่พระอเสขะ ผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันเลิศ ผู้ประกอบด้วยธรรมอันงาม ผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ผู้ประกอบด้วยธรรมอันเป็นสาระ ผู้

เป็นเอหิภิกขุ ผู้อุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์ ผู้อุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมที่ไม่กำเริบควรแก่ฐานะโดยสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง,


หมายถึง
ผู้ละบุญและบาป
ประพฤติพรหมจรรย์ในโลกด้วยการพิจารณาเที่ยวไป,


หมายถึง
ผู้เที่ยวพิจารณาสังขารทั้งปวง,


หมายถึง
ผู้ไม่มีความยึดถือ
ในนามรูปว่าเป็นของๆ เราโดยประการทั้งปวง ผู้ไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปนั้นไม่มีอยู่,


หมายถึง
ผู้เห็นภัยในสงสาร
ผู้ทำลายกิเลสได้โดยประการทั้งปวง ผู้ข้ามโอฆะ คือ กาม ภพ ทิฏฐิ อวิชชา แล้วตั้งอยู่ในนิพพาน,


หมายถึง
ผู้ประพฤติธรรมสม่ำเสมอ
สงบแล้ว ฝึกแล้ว มีคติแน่นอน ประพฤติพรหมจรรย์ เว้นอาชญาในสัตว์ทั้งมวล,


หมายถึง
ผู้ละความไม่ยินด
ี ความยินดี ความวิตก ในเรือนโดยประการทั้งปวง ไม่พึงทำป่าคือกิเลสในอารมณ์ไหนๆ เป็นผู้ไม่มีป่าคือ

กิเลส เป็นผู้ไม่น้อมใจไปแล้ว,


หมายถึง
ผู้มีสำรวมกาย
สำรวมวาจา สำรวมตน ยินดีในธรรมอันเป็นในภายใน มีจิตตั้งมั่น เป็นคนโดดเดี่ยว สันโดษ,


หมายถึง
ผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ
ผู้เบา ปรารถนาประโยชน์ มีอินทรีย์สำรวม พ้นวิเศษแล้วในธรรมทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่มี

ความยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง ผู้กำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว,


หมายถึง
ผู้มีมายา มานะ
ความโลภสิ้นไป ไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่มีความหวัง ผู้ละความโกรธ มีจิตเย็น,


หมายถึง
ผู้ทำลายธรรม ๗ ประการ,


หมายถึง
ผู้ดับกิเลสด้วยมรรคที่ตนอบรมแล้ว
ข้ามความสงสัยได้แล้วเพราะความดับรอบกิเลส ละแล้วซึ่งความเสื่อมและความเจริญ

คือวิบัติและสมบัติ ความขาดสูญและความเที่ยง บาปและบุญ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว เป็นผู้สงบ








E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Copyright (c) ๒๐๐๔ All rights reserved.

ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน

  

    ในขั้นตอนพิธีการบรรพชา
นั้นไม่จำเป็นต้องมีบาตรก็ได้ แต่ในการอุปสมบทนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีบาตรเพราะเป็น 1 ใน 4 สิ่งที่จำเป็น คือ ผ้าไตรจีวร ได้แก่สบง จีวร สังฆาฏิ และ บาตรที่จะขาดมิได้ในอัฏฐบริขารหากขาดตกบกพร่องก็เป็นหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ที่จะต้องหาให้เสร็จสิ้นก่อนการอุปสมบท

                                                                                        (ที่มา : คู่มือคู่สวด พระอุปัชฌาย์ หน้า 13)























E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. Copyright (c) ๒๐๐๔ All rights reserved.

ค้นหา

ยอมรับเงื่อนไข ข้อมูลส่วนบุคคล