ให้เรตสมาชิก: 5 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งาน
 

 

(กล่าวถึงคุณของการอยู่โคนไม้ และโทษของบรรณศาลา อุปมาการหาความสงบของพญาช้างกับการปฏิบัติ    ของภิกษุ ภิกษุผู้อยู่ป่า ภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร ๕ จำพวกที่ดีและเลว คุณของธุดงค์ ผู้สมาทานธุดงค์ ผู้ควรแก่ธุดงค์คุณ พระมหากัสสปะเห็นประโยชน์ ๒ ประการ จึงประพฤติและสรรเสริญธุดงควัตร และประวัติของพระมหากัสสปเถระ)

๓.๑ คุณ ๑๐ ประการของการอยู่โคนไม้ โทษของบรรณศาลา ๘ ประการ

คุณ ๑๐ ประการของการอยู่โคนไม้ คือ

๑.  เข้าอยู่ได้เลย                                     ๒.  รักษาน้อย

๓.  ไม่ต้องถูกปลุกให้ลุก                           ๔.  ไม่ปกปิดข้อครหา

๕.  ไม่ทำร่างกายให้อึดอัด                        ๖.  ไม่ต้องหวงแหนไว้

๗.  ไม่อาลัยเมื่อจากไป                            ๘.  ไม่มีการไล่เพราะทำความสะอาด

๙.  ผู้อยู่มีปีติอิ่มเอิบใจ                            ๑๐.  ไม่ห่วงใยเพราะโคนไม้หาได้ง่าย

โทษของบรรณศาลา ๘ ประการ คือ

๑.  การเริ่มต้น (เข้าอยู่) ยาก                      ๒.  ต้องซ่อมแซม

๓.  ต้องถูกปลุกให้ลุกสำหรับพระผู้แก่กว่า     ๔.  ทำให้ร่างกายอ่อนแอ

๕.  อาจทำชั่วเพราะมีที่ปกปิด                    ๖.  เกิดการหวงแหน

๗.  แสดงว่าต้องมีคู่                                ๘.  เป็นของสาธารณะทั่วไปแก่คน สัตว์ มีเล็น เลือด ตุ๊กแก

 

๓.๕     คุณของธุดงค์ ๒๘ ประการ องค์ ๑๘ ของผู้สมาทานธุดงค์ ผู้ควรแก่ธุดงค์คุณ ๑๐

คุณของธุดงค์ ๒๘ ประการ  คือ

๑.  เลี้ยงชีพบริสุทธิ์                                ๒.  ให้ผลเป็นสุข

๓.  เป็นของไม่มีโทษ                              ๔.  บำบัดความทุกข์

๕.  เป็นของไม่มีภัย                                 ๖.  เป็นของไม่เบียดเบียน

๗.  มีแต่เจริญฝ่ายเดียว                            ๘.  ไม่มีมารยา หลอกลวง

๙.  ไม่ขุ่นมัว                                         ๑๐.  เป็นเครื่องป้องกัน

๑๑.  ให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา                     ๑๒.  กำจัดเสียซึ่งศัสตรา

๑๓.  มีประโยชน์ในทางสำรวม                  ๑๔.  สมควรแก่สมณะ

๑๕.  สงบนิ่ง                                        ๑๖.  หลุดพ้น

๑๗.  เป็นเหตุให้สิ้นราคะ                         ๑๘.  ระงับโทสะ

๑๙.  ทำให้โมหะพินาศ                           ๒๐.  กำจัดมานะ

๒๑.  เป็นเหตุตัดวิตกชั่ว                          ๒๒.  ทำให้ข้ามสงสัย

๒๓.  กำจัดความเกียจคร้าน                      ๒๔.  กำจัดความไม่ยินดีในธรรม

๒๕.  ทำให้อดทน                                  ๒๖.  เป็นของชั่งไม่ได้

๒๗.  เป็นของหาประมาณมิได้                   ๒๘.  ทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

 

องค์ ๑๘ ของผู้สมาทานธุดงค์ คือ

๑.  มีมารยาทบริสุทธิ์                               ๒.  มีปฏิปทาบริบูรณ์

๓.  รักษากาย วาจาดี                               ๔.  มีใจบริสุทธิ์ดี

๕.  ประคองความเพียรดี                           ๖.  ระงับความกลัว

๗.  ปราศจากอัตตานุทิฐิ                           ๘.  ระงับความอาฆาต

๙.  มีจิตเมตตา                                      ๑๐.  รอบรู้อาหาร                                          

๑๑.  เป็นที่เคารพแห่งสัตว์ทั้งปวง               ๑๒.  เป็นผู้รู้จักพอดีในโภชนะ

๑๓.  เป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียร      ๑๔.  ไม่ห่วงที่อยู่

๑๕.  อยู่ที่ไหนสบายก็อยู่ที่นั่น                   ๑๖.  เกลียดชังความชั่ว

๑๗.  ยินดีในวิเวก                                   ๑๘.  ไม่ประมาทเนือง ๆ

 

ผู้ควรแก่ธุดงคคุณ ๑๐ คือ

๑.  ผู้มีศรัทธา                                        ๒.  ผู้มีหิริ

๓.  ผู้มีความอดทน                                 ๔.  ผู้ไม่คดโกง

๕.  ผู้อยู่ในอำนาจเหตุผล                         ๖.  ผู้ไม่ละโมบ

๗.  ผู้ใคร่ต่อการศึกษา                             ๘.  ผู้มีใจมั่นคง

๙.  ผู้ไม่ชอบยกโทษผู้อื่น                        ๑๐.  ผู้อยู่ด้วยเมตตา

 

๓.๖     คุณอันประเสริฐ ๓๐ ของผู้บำเพ็ญธุดงค์

๑.  มีจิตเมตตาอ่อนโยน                            ๒.  กำจัดกิเลส

๓.  กำจัดมานะทิฐิ                                   ๔.  มีศรัทธาตั้งมั่น

๕.  ได้ความร่าเริง ดีใจง่าย                        ๖.  ได้สมบัติอันเป็นสุข

๗.  อบรมด้วยกลิ่นหอมคือศีล                    ๘.  เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา

๙.  ได้กำลังแห่งพระขีณาสพ                    ๑๐.  เป็นที่ปรารถนาของพระอริยบุคคล

๑๑.  เป็นที่สรรเสริญของมนุษย์และเทวดา    ๑๒.  เป็นที่กราบไหว้ของพวกอสูร

๑๓.  เป็นที่สรรเสริญของผู้หาค่ามิได้          ๑๔.  เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในโลก

๑๕.  เป็นผู้เห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย   ๑๖.  เป็นผู้สำเร็จประโยชน์อันประเสริฐ

๑๗.  เป็นผู้มีส่วนแห่งปัจจัยอันไพบูลย์        ๑๘.  เป็นผู้ไม่ห่วงใยในที่อยู่ ที่นอน

๑๙.  เป็นผู้อยู่ด้วยฌานอันประเสริฐ            ๒๐.  เป็นผู้ตัดคติทั้งปวงเสียได้้

๒๑.  มั่นอยู่ในธรรมอันไม่กำเริบ                ๒๒.  บริโภคไม่มีโทษ

๒๓.  เป็นผู้หลุดพ้นจากคติ                      ๒๔.  เป็นผู้ข้ามความสงสัยทั้งปวง

๒๕.  เป็นผู้เพ่งต่อวิมุตติ                          ๒๖.  เป็นผู้เข้าถึงซึ่งเครื่องป้องกัน

๒๗.  ตัดอนุสัยเสียได้                             ๒๘.  สิ้นอาสวะทั้งปวง

๒๙.  ได้สุขสมบัติอันประเสริฐ                    ๓๐.  ประกอบด้วยสมณคุณ

 

 ประวัติพระมหากัสสปเถระ      ผู้เป็นเลิศด้านธุดงค์

      ในสมัยของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบาสกชื่อ เวเทหะ ปรารถนาจะได้ตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็น  ยอดกว่าภิกษุทั้งหลายด้านธุดงค์และสอนเรื่องธุดงค์ เหมือนกับพระมหานิสภเถระ จึงบำเพ็ญมหาทานเพื่อตำแหน่งนั้น พระศาสดาทรงอนุโมทนา และประทานพร หลังจากละอัตภาพนั้น อุบาสกเวียนตายเวียนเกิดในโลกมนุษย์และสวรรค์  ทำบุญกุศลถวายทานทั้งหลายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  และพระปัจเจกพุทธเจ้าหลายพระองค์

      มาถึงสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย อุบาสกเกิดในตระกูลพราหมณ์ ชื่อว่า ปิบผลิมาณพ ในกัสสปโคตร พอเจริญวัย ปิบผลิมาณพจำต้องแต่งงานกับนางภัททกาปิลานี ทั้งสองประพฤติพรหมจรรย์โดยตลอด เมื่อบิดามารดาตายไป ทั้งสองออกบวชในพระพุทธศาสนา ไม่นานก็บรรลุอรหัตผลทั้งคู่ ส่วนปิบผลิซึ่งเรียกอีกนัยว่าพระมหากัสสปะ ได้รับการแต่งตั้งจากพระศาสดาในตำแหน่งเอตทัคคะทางด้านธุดงค์ และสอนเรื่องธุดงค์

 

ค้นหา

ยอมรับเงื่อนไข ข้อมูลส่วนบุคคล