ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

ต้นแบบ ที่ดีแท้ แม้เพียง...หนึ่ง นำมาซึ่ง เยาวชนดี อีกนับ...ล้าน

บวชทั้งที ต้องมีต้นแบบ

    ในสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนา ทรงเป็นต้นแบบและสั่งสอนชาวโลกให้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน อันเป็นหนทางในการดำรงชีวิต พบกับความสุขความเจริญในชีวิต และหนทางที่พ้นจากภัยในวัฏฏะ นับเป็นสิ่งที่มีค่าอันประเสริฐมหาศาล อันหาที่เปรียบมิได้ พระองค์ได้ยกพระภิกษุไว้ในฐานะผู้เป็นต้นแบบ เป็นผู้รักษาคำสอน เป็นครูสอนศีลธรรมให้แก่ชาวโลกอย่างแท้จริง

 

     บุญเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังความสุข ความสำเร็จ และความสมปรารถนา ถ้าอยากให้ชีวิตมีความเจริญรุ่งเรือง จะต้องเป็นผู้มีบุญมาก การบวชเป็นบุญใหญ่ที่มีอานิสงส์มหาศาล ยากที่จะประมาณได้ และถ้าอยากได้บุญมากๆ คุณจะต้อง “กล้าบวช” กล้าที่จะสู้กับกิเลสที่คอยเหนี่ยวรั้งจิตใจ ที่คอยดึงเราไม่ให้คิดอยากบวช ต้องกล้าที่จะเลิกอบายมุขทั้งหลาย ละทิ้งความสุขจอมปลอม เพื่อมาแสวงหาความสุขที่แท้จริงในแบบที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อน แล้ว...คุณจะเป็นผู้ชนะ

    เชิญมาร่วมกันสร้างมหากุศลครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต ด้วยการบวชเพื่อฝึกตนเป็นต้นแบบ เป็นครูสอนศีลธรรมให้แก่เยาวชนที่จะบรรพชาใน “โครงการสามเณรดีศรีตำบล” ที่จะเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก เพราะเยาวชนไทยวันนี้ ยังต้องการต้นแบบ ต้องการผู้แนะนำ ผู้อบรมสั่งสอน และต้องการกำลังใจ เพื่อที่จะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ เป็นเยาวชนทั้งเก่งทั้งดีในภายภาคหน้า

    การบวชครั้งนี้ นอกจากเราจะได้บุญใหญ่จาการบวชบูชาธรรม พระเดชพระคุณพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) แล้ว เรายังจะได้บุญใหญ่ ในการสร้างเยาวชนคนดีให้เกิดขึ้นทั่วประเทศอีกด้วย

บวชพระ...ได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด

  • ได้ตอบแทนพระคุณพ่อแม่ พระคุณของพ่อแม่นั้นแสนยิ่งใหญ่ ท่าน คือ ผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ บวชเอาบุญให้ท่าน คือ วิธีทดแทนคุณที่ดีที่สุด
  • ได้บุญมหาศาล มีอานิสงส์มาก สามารถปิดนรกเปิดสวรรค์ และหากผู้บวชตั้งใจปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็จะได้บุญเพิ่มอีก อย่างประมาณค่ามิได้
  • ได้ศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รู้ว่า คนเราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต และจะนำพาชีวิตของเราไปสู่เป้าหมายนั้นอย่างไร
  • ได้นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน สมาธิเป็นวิธีที่นำพาชีวิตไปสู่ความสุขที่แท้จริง และทำให้ใจมีพลังมากขึ้น สามารถดึงดูดสิ่งที่ดีงามมาสู่ชีวิตของเรา

ฯลฯ

สมัครได้ทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2555 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ณ ห้อง SPD 8 สภาธรรมกายสากล ชั้น 1

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-831-1234, 087-707-7771 ถึง 3, 081-488-5560

ดาวน์โหลดใบสมัคร:

กำหนดการอบรม

  • ระยะเวลาการอบรม วันที่ 14 กุมภาพันธ์ – 16 พฤษภาคม พ.ศ.2556 (รวม 92 วัน)
  • เริ่มอบรม วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย
  • พิธีตัดปอยผม วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย
  • พิธีบรรพชา 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย
  • อุปสมบท วันที่ 26 – 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ณ วัดต่างๆในจังหวัดปทุมธานีและปริมณฑล
  • ช่วงอบรมทำหน้าที่พระพี่เลี้ยง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 7 มีนาคม พ.ศ.2556
  • เดินทางกลับศูนย์อบรมประจำอำเภอเพื่อทำหน้าที่พระพี่เลี้ยง วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2556
  • ปฏิบัติธรรมพิเศษ วันที่ 3 พฤษภาคม – 16 พฤษภาคม พ.ศ.2556

หลักฐานการสมัคร

  1. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นตาดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ใบ
  2. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาหลักฐานการศึกษา จำนวน 1 ชุด
  4. ใบรับรองแพทย์ และใบระบุผลตรวจเลือด HIV

คุณสมบัติ

  1. เป็นชายแท้ อายุ 20 – 60 ปี
  2. เป็นผู้นำบุญ หรือธรรมทายาทเก่าที่เคยบวชในศูนย์อมรบต่างๆทั่วประเทศ
  3. จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป
  4. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ โรคจิตประสาท หรือโรคประจำตัวร้ายแรงอื่นๆ และไม่ติดยาเสพติด
  5. ร่างกายไม่พิการ เช่น ตาบอด หูหนวก แขนขาขาด เป็นต้น
  6. ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ หรือสักเป็นรูปไม่เหมาะสมอยู่ภายนอกร่มผ้าเมื่อต้องครองจีวร
  7. มีคุณสมบัติอื่นๆของผู้บวชตามกฎมหาเถรสมาคม

ของที่ใช้ในการอบรม

  1. ผ้าห่มกันหนาวสีเหลือง 1 ผืน
  2. ชุดอบรมธรรมทายาทสีขาวล้วนไม่มีลาย 2 ชุด
  3. เสื้อพระราชทาน (สำหรับใส่วันบรรพชา) 1 ตัว และเสื้อกันหนาวสีขาว 1 ตัว
  4. ของใช้ส่วนตัว เช่น ขันน้ำ (สีขาว) สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก แปรงและยาสีฟัน ไฟฉายพร้อมถ่าน
  5. กางเกงขาสั้นใส่อาบน้ำ หรือผ้าขาวม้า และผ้าเช็ดตัวสีเหลือง
  6. ยาประจำตัว เช่น ยาแก้แพ้ ยาทากันยุง
  7. มีดโกนหนวด พร้อมใบมีดโกน
  8. รองเท้าแตะสีน้ำตาล 1 คู่

ของที่ไม่ควรนำไปอบรม

  1. หนังสืออ่านเล่นหรือสื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสมาธิ
  2. อาหารและของขบเคี้ยวทุกชนิด
  3. เครื่องเล่นสื่อทุกชนิด เช่น วิทยุ, ซีดี, เครื่องเล่น MP3, MP4 เป็นต้น
  4. กระจกเงา รูปถ่ายญาติมิตร และกล้องถ่ายรูป
  5. ของมีค่าและเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ เป็นต้น
  6. อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ

หมายเหตุ: คณะกรรมการการอบรมจะตรวจ และเก็บดูแลของเหล่านี้แทนท่าน ระหว่างการอบรม

ของที่ห้ามนำติดตัวตลอดการอบรม

  1. วัตถุมีคม อาวุธ สิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ
  2. บุหรี่ และยาเสพติดทุกชนิด

ค้นหา

ยอมรับเงื่อนไข ข้อมูลส่วนบุคคล