โครงการอุปสมบทหมู่ เข้าพรรษา พ.ศ.2555
หลักการและเหตุผล
แผ่นดินไทยได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินธรรม ที่พระพุทธศาสนาปักหลักอย่างมั่นคงมายาวนานนับพันปี กระแสธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ซึมแทรกไปในทุกจังหวะชีวิตของชาวไทย เกิดเป็นประเพณี วัฒนธรรมชาวพุทธอันดีงาม จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “สยามเมืองยิ้ม” ดินแดนแห่งความสุขบนมนุษยโลก คำตอบของการดำรงความรุ่งเรืองและความสุขของประชาชาติไทยก็คือ การดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงคู่ผืนแผ่นดินไทย ซึ่งหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ ศาสนทายาทที่มั่นคงในพุทธธรรม ดังนั้น การสืบทอดรักษาประเพณีการบวชของชาวไทย จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการธำรงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นภาระรับผิดชอบของพุทธบริษัทไทยทุกคน
จากโครงการบวชครั้งประวัติศาสตร์ คือ โครงการอุปสมบทหมู่ 7,000 รูป 7,000 ตำบล, โครงการอุปสมบทหมู่ 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย, โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ในปีพ.ศ.2553 และปีพ.ศ.2554 ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม คณะสงฆ์ สาธุชนและองค์กรภาคีที่ร่วมโครงการ ต่างปลื้มปีติเป็นล้นพ้นและเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะช่วยกันฟื้นฟูประเพณีการบวชให้กลับมาเป็นค่านิยมกระแสหลักของชายไทย ดังเช่นบรรพกาล คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร, วัดพระธรรมกาย, มูลนิธิธรรมกาย, สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย, ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัด “โครงการบรรพชาอุปสมบทภาคเข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย” ขึ้น ระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม ถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้พุทธบริษัทไทยได้สร้างบุญใหญ่อีกวาระหนึ่ง และจะเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นดินแดนแห่งสันติสุขอย่างยั่งยืนสืบต่อไป
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้กระแสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่ปกคลุมทั่วผืนแผ่นดินไทย ให้ดับร้อน ฝ่าภัยวิกฤติไปสู่ความเข้มแข็งและเจริญรุ่งเรืองต่อไป
- เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่บ้านทั่วประเทศได้ร่วมสั่งสมบุญบารมีในโครงการอุปสมบทหมู่ และเป็นแบบอย่างอันดีให้เกิดโครงการเช่นนี้ขึ้นทั่วประเทศไทย
- เพื่อให้ผู้บรรพชาอุปสมบทได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องสืบไป
เป้าหมาย
1. ผู้อุปสมบทจากทุกหมู่บ้านทั่วประเทศไทย จำนวน 100,000 คน
โดยคุณสมบัติของผู้เข้าอุปสมบท มีดังนี้
- เป็นชายแท้ อายุ 20 – 50 ปี
- จบการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป
- สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ โรคจิตประสาท หรือโรคประจำตัวร้ายแรงอื่นๆ และไม่ติดยาเสพติด
- ร่างกายไม่พิการ เช่น ตาบอด, หูหนวก, แขนขาด เป็นต้น
- ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ หรือสักเป็นรูปไม่เหมาะสมอยู่นอกร่มผ้าเมื่อครองจีวร
- มีคุณสมบัติอื่นๆของผู้บวชตามกฎมหาเถรสมาคม
กำหนดการ
เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2555
ด่วน ขยายเวลาสมัครบวช จนถึงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2555
- ระยะเวลาอบรมและอุปสมบทรวม 120 วัน
ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม – 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
เริ่มอบรม วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ณ วัดอบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ
- บรรพชา วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ณ วัดพระธรรมกาย
- อุปสมบท วันที่ 30 – 31 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ณ วัดต่างๆทั่วประเทศ
- รับประกาศนียบัตร – ปิดการอบรม วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2555
สถานที่อบรม
วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ
คุณสมบัติของผู้บวช
- เป็นชายแท้ จบการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้น ม.3 ขึ้นไป และมีอายุระหว่าง 20 – 50 ปี
- สามารถเข้าอบรมได้ตลอดระยะเวลาการอบรม
- เป็นผู้มีความประพฤติดี พร้อมที่จะรักษาระเบียบวินัยได้
- สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคลมชัก โรคเบาหวาน โรคจิตประสาท โรคไต โรคหอบหืด เป็นต้น (ผ่านการตรวจรับรองโดยแพทย์ตามเอกสาร บพ.02)
- ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
- ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ หรือสักรูปไม่เหมาะสมอยู่นอกร่มผ้าเมื่อห่มจีวร
- ร่างกายไม่พิการ
- มีคุณสมบัติผู้บวชอื่นๆ ตามกฎของมหาเถรสมาคม
หลักฐานการสมัคร
- รูปถ่ายขนาด 1 หรือ 2 นิ้ว ไม่สวมหมวก ไม่ใส่แว่นดำ ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ใบ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
- สำเนาหลักฐานการศึกษา จำนวน 1 ชุด
- ใบรับรองแพทย์และระบุผลการตรวจเลือด HIV (ตามแบบฟอร์ม บพ.02)
ของใช้ในการอบรมที่ต้องนำมาเอง
- ชุดอบรมธรรมทายาทสีขาวล้วน ไม่มีลาย จำนวน 2 ชุด
- เสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว ไม่มีลาย จำนวน 1 ตัว (ใช้ในวันบรรพชา)
- ของใช้ส่วนตัว เช่น ขันน้ำสีขาว สบู่ แชมพู ผงซักฟอก แปรงสีฟันและยาสีฟัน ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย
- กางเกงขาสั้นหรือผ้าขาวม้าสำหรับใส่อาบน้ำ และผ้าเช็ดตัวสีเหลือง
- ยาประจำตัว เช่น ยาแก้แพ้ ยาทากันยุง ยาแก้โรคกระเพาะ
- ผ้าห่มสีเหลือง จำนวน 1 ผืน
- มีดโกนหนวดพร้อมใบมีด อย่างน้อย 4 ใบ
- รองเท้าแตะสีน้ำตาล จำนวน 1 คู่
ของที่ไม่ใช้ในการอบรม
- หนังสืออ่านเล่น หรือสื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสมาธิ
- อาหารและของขบเคี้ยวทุกชนิด
- เครื่องเล่นสื่อทุกชนิด เช่น วิทยุ, ซีดี, MP3, MP4
- กระจกเงา รูปถ่ายญาติมิตร และกล้องถ่ายรูป
- ของมีค่าและเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ เป็นต้น
- อุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสารทุกชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ
หมายเหตุ: คณะกรรมการจะตรวจและดูแลของเหล่านี้แทนท่านระหว่างการอบรม
ของที่ห้ามนำติดตัวตลอดการอบรม
- วัตถุมีคม อาวุธ สิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ
- บุหรี่ รวมถึงยาเสพติดทุกชนิด
สนใจสมัครบวช ติดต่อหมายเลขโทรศัพท์ 02-831-1234
สำหรับท่านที่มีความประสงค์จะสมัครด้วยตนเองที่วัดพระธรรมกาย ติดต่อได้ที่ห้อง เอสพีดี 9 ชั้น 1 สภาธรรมกายสากล
ดาวน์โหลดใบสมัคร และคำขานนาค
ดาวน์โหลด สื่อประชาสัมพันธ์
ที่ปรึกษาโครงการ
ประธานที่ปรึกษา
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กรรมการที่ปรึกษา
1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.9) |
วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร |
2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.9) | วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร |
3. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9) | วัดพิชยญาติการามวรวิหาร |
4. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.9) | วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร |
5. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.3) | วัดยานนาวา |
6. พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร ป.ธ.6) | วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร |
7. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.9) | วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ |
8. พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.7) | วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง |
9. พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร ป.ธ.6) | วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร |
10. พระธรรมวโรดม (สมเกีตรติ กิตฺติวฑฺฒโน ป.ธ.9) | วัดทินกรนิมิต |
11. พระพรหมเมธี (จำนง ธมฺมจารี) | วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร |
12. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.9) | วัดสามพระยาวรวิหาร |
13. พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.9) | วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ |
14. พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) | วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร |
15. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9) | วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร |
16. พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.6) | วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย |
17. พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) | วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร |
18. พระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสสฺธมฺโม ป.ธ.9) | วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร |
19. พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.9) | วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร |
20. พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.9) | วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร |
21. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9) | วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร |
22. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.9) | วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร |
23. พระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.9) | วัดชลประทานรังสฤษฎ์ |
24. พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ ป.ธ.9) | วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร |
25. พระธรรมวงศาจารย์ (นิมิต ทนฺตจิตฺโต ป.ธ.4) | วัดโคกสมานคุณ จังหวัดสงขลา |
26. พระเทพสุธี (สงคราม อสิญาโณ ป.ธ.9) | วัดไตรธรรมาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
27. พระเทพรัตนสุทธี (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.5) | วัดเขียนเขต จังหวัดปทุทมธานี |
28. พระราชวิสุทธิเวที (สายชล ฐานวุฑฺโฒ ป.ธ.9) | วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร |
29. เจ้าคณะจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ
- คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน
- คณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
- วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
- สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย
- ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้อุปถัมภ์โครงการ
พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย
ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ
1. คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา |
2. กระทรวงศึกษาธิการ |
3. กระทรวงมหาดไทย |
4. กระทรวงวัฒนธรรม |
5. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ |
6. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ |
7. จังหวัดปทุมธานี |
8. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก |
9. องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก |
10. กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย |
11. กรมกิจการพลเรือนทหารบก |
12. กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ |
13. กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ |
14. กรมการปกครอง กระทรวงมหาไทย |
15. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น |
16. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย |
17. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข |
18. สมาพันธ์องค์การพัฒนาชุมชนแห่งประเทศไทย |
19. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย |
20. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย |
21. สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย |
22. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย |
23. สมาคมสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
24. สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร |
25. สภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติ |
26. V- Peace องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก |
27. สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติและเครือข่าย |
28. สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล |
29. คณะกรรมการพัฒนาสตรีทุกระดับ ทุกจังหวัด |
30. สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย |
31. ชมรมอุบาสิกาแก้วทั่วประเทศ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เป็นมหากุศล สร้างความร่มเย็นและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่แผ่นดินไทย
- เกิดความร่วมมือในทางสร้างสรรค์ระหว่างวัดและชุมชนทั่วประเทศ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป
- สร้างผู้นำในการเป็นต้นแบบทางศีลธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมทุกภาคส่วน ทั่วประเทศไทย
- ผู้เข้าบรรพชาอุปสมบทได้เรียนรู้หลักธรรมนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต