มีคำอยู่ 2 คำที่เกิดขึ้นในใจของคนเราเสมอ ๆ นั่นก็คีอคำ-ว่า "อยากได้" กับ "ไม่อยากได้"เช่น..อยากได้ชีวิตที่ดี ..อยากได้ชื่อเสียงเกียรติยศ..อยากได้ทร้พย์สิน เงินทอง ..อยากได้ความสุขความสำเร็จ ฯลฯ และ ไม่อยากได้อะไรที่ทำให้ชีวิต เป็นทุกข์ ..ไม่อยากจน ..ไม่อยากล้มเหลว ..ไม่อยากเจ็บไม่อยากป่วย ฯลฯ
แล้วอะไรเป็นตัวกำหนดให้ชีวิตสมหวังหรือผิดหวัง ?
คำถามนี้..พระพุทธศาสนามีคำตอบ ชีวิตของคนเราจะดีหรือร้าย จะได้ใน สิงที่ตนเองปรารถนาหรือไม่ ? "บุญ" กับ "บาป" เท่านั้นที่เป็นตัวกำหนด
"บุญ" คือ รุ่งอัศจรรย์ที่บันดาลความสุข ความสำเร็จ ความเจรืญรุ่งเรืองให้ กับชีวิต ช่วงไหนที่เรามีบุญมากและบุญกำลังส่งผล ช่วงนั้นสิงดี ๆ จะหลั่งไหล เข้ามาในชีวิต จะได้พบแต่ความสุข สดชึ่น เบิกบาน สมหวัง แต่ช่วงไหนบุญน้อย ชีวิตก็จะร่วงโรย อับเฉา สิ่งดี ๆ ก็จะพลัดพรากจากไป เพราะไม่มีกระแสบุญคอย ดึงดูดเอาไว้ และช่วงไหนบาปกำลังส่งผล เรื่องเลวร้าย เรื่องทุกข์ใจ ก็จะตามมารุม จองล้างจองผลาญไม่สินสุด หรือถ้าหมดบุญ ก็หมายถึงหมดสิทธิ์ที่จะมีชีวิตอยู่
บุญไม่มีขาย..อยากได้ต้องทำเอง
ถ้าอยากให้ชีวิตมีความสุข สมปรารถนา จะต้องเป็นผู้มีบุญมาก และถ้าอยาก ได้บุญมาก..คุณต้องกล้าบวช เพราะบุญบวชพระเป็นบุญใหญ่ที่มีอานิสงส์มหาศาล ..คุณต้องกล้าที่จะสู้กับกิเลสที่คอยเหนี่ยวรั้งใจเราไม่ให้ทำความดี สู้กับกิเลสที่คอย ดึงใจของเราไวไม่ให้คิดอยากบวช ..คุณต้องกล้าที่จะเลิกอบายมุขทั้งหลาย กล้า ที่จะละทิ้งความสุขจอมปลอมทั้งปวง เพื่อแสวงหาความสุขที่แท้จริงในแบบที่คุณ ไม่เคยสัมผัสมาก่อน ..แล้วคุณจะเป็นผู้ชนะ
บวชพระ..ได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด
• ได้ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ พระคุณของพ่อแม่นั้นแสนยิ่งใหญ่ ท่านคือผู้ให้ กำเนิดและเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ บวชเอาบุญให้ท่านคือวิธีทดแทนคุณที่ดีที่สุด
• ได้บุญมหาศาล มีอานิสงส์มาก สามารถปิดนรกเปิดสวรรค์ และหากผู้บวชตั้งใจ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็จะได้บุญเพิ่มอีกประมาณค่าไม่ได้
• ได้ศึกษาธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รู้ว่าคนเราเกิดมาทำไม อะไรคือ เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต และจะนำพาชีวิตของเราไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร
• ได้นั่งสมาธิเป็นประจำทุกวัน สมาธิเป็นวิธีที่นำพาชีวิตไปสู่ความสุขที่แท้จริง และทำให้ใจมีพลังมากขึ้น สามารถดึงดูดสิ่งดีงามมาสู่ชีวิตของเรา
ฯลฯ
หลักการและเหตุผล
แผ่นดินไทยได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินธรรม ที่พระพุทธศาสนาปักหลักอย่างมั่นคงมายาวนานนับพันปี กระแสธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ซึมแทรกไปในทุกจังหวะชีวิตของชาวไทย เกิดเป็นประเพณี วัฒนธรรมชาวพุทธอันงดงาม จนได้รับการกล่าวขานเป็น “สยามเมืองยิ้ม” ดินแดนแห่งความสุขบนมนุษยโลก
คำตอบของการดำรงความรุ่งเรืองและความสุขของประชาชาติไทยก็คือ การดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงคู่ผืนแผ่นดินไทย ซึ่งหัวใจของพระพุทธศาสนา คือศาสนทายาทที่มั่นคงในพุทธธรรม ดังนั้นการสืบทอดรักษาประเพณีการบวชของชายไทย จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการธำรงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นภาระรับผิดชอบของพุทธบริษัทไทยทุกคน
จากสามโครงการบวชครั้งประวัติศาสตร์ คือโครงการอุปสมบทหมู่ ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำบล, โครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย และโครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ในปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม คณะสงฆ์ สาธุชนและองค์กรภาคีที่ร่วมโครงการ ต่างปลื้มปีติเป็นล้นพ้นและเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะช่วยกันฟื้นฟูประเพณีการบวช ให้กลับมาเป็นค่านิยมกระแสหลักของชายไทย ดังเช่นบรรพกาล
คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัด “โครงการอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อน ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย” ขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๓ มีนาคม ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้พุทธบริษัทไทยได้สร้างบุญใหญ่อีกวาระหนึ่ง และจะเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นดินแดนแห่งสันติสุขอย่างยั่งยืนสืบต่อไป
สปอตสั้น
คลิกขวา save link หรือ save target เพื่อโหลด
550213 Scoop แนะนำโครงการบวชพระแสน รุ่นที่ 5
คลิกขวา save link หรือ save target โหลดที่นี่
Spot โครงการบวชพระแสน ครั้งที่ 5/2555(ยาว)
คลิกขวา save link หรือ save target โหลดที่นี่
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อให้กระแสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่ปกคลุมทั่วผืนแผ่นดินไทยให้ดับร้อน ฝ่าภัยวิกฤติไปสู่ความเข้มแข็งและเจริญรุ่งเรืองต่อไป
๒.เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่บ้านทั่วประเทศได้ร่วมสั่งสมบุญบารมีในโครงการอุปสมบทหมู่ และเป็นแบบอย่างอันดีให้เกิดโครงการเช่นนี้ขึ้นทั่วประเทศไทย
๓.เพื่อให้ผู้อุปสมบทได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องสืบไป
กำหนดการโครงการ
เปิดรับสมัครตั้งแต่ บัดนี้ ถึงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕
ระยะเวลาอบรมและอุปสมบทรวม 53 วัน ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม - 13 พฤษภาคม 2555
เริ่มอบรม | วันพฤหสบดีที่ 22 มีนาคม 2555 | ณ วัดอบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ |
บรรพชา | วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม 2555 | ณ วัดพระธรรมกาย |
อุปสมบท | วันที่ 5-7 เมษายน 2555 | ณ วัดต่างๆทั่วประเทศ |
บำเพ็ญธุดงควัตร | วันที่ 7-12 พฤษภาคม 2555 | |
รับประกาศนียบัตร – ปิดการอบรม | วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม 2555 |
เป้าหมาย
ผู้บรรพชาอุปสมบท จากทุกหมู่บ้านทั่วประเทศไทย ยอดโดยประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน
โดยคุณสมบัติผู้เข้าอุปสมบท มีดังนี้
๑. เป็นชายแท้อายุ ๒๐ – ๖๐ ปี(๑๘ สามารถบวชสามเณรในโครงการได้)
๒. จบการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ขึ้นไป
๓. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ โรคจิตประสาท หรือโรคประจำตัวร้ายแรงอื่นๆ และไม่ติดยาเสพติด
๔. ร่างกายไม่พิการ เช่น ตาบอด หูหนวก แขนขาขาด เป็นต้น
๕. ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ หรือสักเป็นรูปไม่เหมาะสม อยู่นอกร่มผ้าเมื่อครองจีวร
๖. มีคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้บวชตามกฎมหาเถรสมาคม
สถานที่
สถานที่อบรมและบรรพชาอุปสมบท วัดอบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ
ใบสมัครอบรม โหลดที่นี่
หนังสือ กรรมาธิการ โครงการอุปสมบทหมู่ แสน 2555.pdf
ของใช้ในการอบรม
๑.ผ้าห่มกันหนาวสีเหลือง ๑ ผืน ถุงเท้ากันหนาวสีเหลืองหรือน้ำตาล ๒ คู่
๒.ชุดอบรมธรรมทายาท สีขาวล้วน ไม่มีลาย จำนวน ๒ ชุด
๓.เสื้อพระราชทานแขนสั้น สีขาว ไม่มีลาย ๑ ตัว
๔.ของใช้ส่วนตัว เช่น ขันน้ำสีขาว สบู่ ยาสระผม ผงซักฟอก แปรงและยาสีฟัน ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย
๕.กางเกงขาสั้นสำหรับใส่อาบน้ำหรือผ้าขาวม้า และผ้าเช็ดตัว (สีเหลือง)
๖.ยาประจำตัว เช่น ยาแก้แพ้ ยาทากันยุง ยาแก้โรคกระเพาะ
๗.มีดโกนหนวด พร้อมใบมีดโกน อย่างน้อย ๔ ใบ
๘.รองเท้าสุภาพ สีน้ำตาล ๑ คู่
ของที่ไม่ควรนำมาในการอบรม
๑.หนังสืออ่านเล่น หรือสื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสมาธิ
๒.อาหารและของขบเคี้ยวทุกชนิด
๓.เครื่องเล่นสื่ออต่างๆ ทุกชนิด (วิทยุ ซีดี MP3 MP3)
๔.กระจกเงา รูปภาพญาติมิตร และกล้องถ่ายรูป
ที่ปรึกษาโครงการ
ประธานที่ปรึกษา
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กรรมการที่ปรึกษา
๑. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
๒. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.๙) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
๓. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
๔. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.๓) วัดยานนาวา
๕. พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙ ) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร
๖. พระพรหมสุธี ( เสนาะ ปญฺญาวชิโร ป.ธ.๖) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
๗. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
๘. พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.๗) วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง
๙. พระพุทธวรญาณ(ทอง สุวณฺณสาโร ป.ธ.๖) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
๑๐. พระธรรมวโรดม (สมเกียรติ กิตฺติวฑฺฒโน ป.ธ.๙ วัดทินกรนิมิต
๑๑.พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
๑๒. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดสามพระยาวรวิหาร
๑๓. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
๑๔. พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.๖) วัดพระแก้ว จ.เชียงราย
๑๕. พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.๙) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
๑๖. พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
๑๗. พระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
๑๘. พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.๙) วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
๑๙. พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.๙) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
๒๐. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร
๒๑. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
๒๒. พระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดชลประทานรังสฤษฎ์
๒๓. พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
๒๔. พระเทพวีราภรณ์ (นิมิต ทนฺตจิตฺโต ป.ธ.๔) วัดโคกสมานคุณ จ.สงขลา
๒๕. พระเทพสุธี (สงคราม อสิญาโณ ป.ธ.๙) วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฏร์ธานี
๒๖. พระเทพรัตนสุธี (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.๕) วัดเขียนเขต เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
๒๗. เจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
๑. คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน
๒. คณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
๓. วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
๔. สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย
๕. ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้อุปถัมภ์โครงการ
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย
ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ
๑. คณะกรรมาธิการการศาสนาคุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
๒. คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร
๓. คณะอนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนา วุฒิสภา
๔. กระทรวงมหาดไทย
๕. กระทรวงศึกษาธิการ
๖. กระทรวงวัฒนธรรม
๗. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์
๘. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๙. จังหวัดปทุมธานี
๑๐. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
๑๑. องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
๑๒. กรมกิจการพลเรือนทหาร
กองบัญชาการกองทัพไทย
๑๓. กรมกิจการพลเรือนทหารบก
๑๔. กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
๑๕.กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
๑๖. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
๑๗. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
๑๘. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
๑๙. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน
กระทรวงสาธารณสุข
๒๐. สมาพันธ์องค์การพัฒนาชุมชนแห่งประเทศไทย
๒๑. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
๒๒.สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
๒๓.สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
๒๔. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
๒๕. สมาคมสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
๒๖. สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
๒๗. สภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติ
๒๘. V-Peace องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก
๒๙. สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติและเครือข่าย
๓๐. สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล
๓๑. คณะกรรมการพัฒนาสตรีทุกระดับ ทุกจังหวัด
๓๒. สมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนไทย
๓๓. ชมรมอุบาสิกาแก้วทั่วประเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เป็นมหากุศล สร้างความร่มเย็นและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่แผ่นดินไทย
๒. เกิดความร่วมมือในทางสร้างสรรค์ระหว่างวัดและชุมชนทั่วประเทศ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป
๓. สร้างผู้นำในการเป็นต้นแบบทางศีลธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมทุกภาคส่วน ทั่วประเทศไทย
๔. ผู้เข้าอุปสมบทได้เรียนรู้หลักธรรมนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต