คำว่า "การบวช" มาจากคำในภาษาบาลีว่า "ปะวะชะ" หมายถึง การงดเว้นโดย สิ้นเชิง ผู้บวชจงได้ชื่อว่า เป็นผู้เลียสละแล้วอย่างสูงส่ง เป็นผู้มีศรัทธาอย่างมั่นคง แน่วแน่ เป็นผู้มความอดทนอย่างยิ่ง เพราะต้องงดเว้นจากความอยาก ความเคยชินต่าง ๆ ต้อง ตัดใจจากครอบครัว จากภารกิจ ต้องหักใจจากของรัก ต้องห้ามใจจากสิ่งยั่วยุ ทั้งภายนอก และภายในจิตใจตนเอง
"การบวช" เป็นมรดกธรรมที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลตราบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ทราบกัน ว่าวัตถุประสงค์หลักของการออกบวช คือการทำพระนิพพานให้แจ้ง และแสวงบุญสร้างบารมีตามรอยบาทขององค์สมเด็จพระสัมมาลัมพุทธเจ้า ด้วยการฝึกหัด ขัดเกลาตนเองตามหลักไตรสิกขา อันได้แก่ คืลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา หรือ หากจะกล่าวง่าย ๆ ก็คือ การคืกษาเรื่องศีล สมาธิ และปิญญา เพี่อสั่งสมความบริสุทธิ์ทั้ง ทางกาย วาจา และใจ ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ซึ่งจะเป็นทางมาแห่ง "ลามัญญผล" หรือผลที่ได้รับจากการออกบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสานา ซี่งมีความละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับ จน กระทั่งบรรลุอรหัตผล สามารถกระทำที่ลุดแห่งทุกขไห้แจ้งได้ในที่สุด
การบวชยังมีคุณประโยชน่อย่างมหาศาลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพุทธศาลนิกชน เพราะการบวชเป็นกลไกในการปลูกฝังศีลธรรมให้แก่ผู้คนในสังคม โดยเริ่มต้นที่ผู้ชายซึ่ง เปรียบเสมือน เสาหลักที่ต้องดูแลรับผิดชอบครอบครัว ดังนั้นตั้งแต่ โบราณมาจึงมีค่านิยม ว่าชายไทยต้องบวชอย่างน้อย หนึ่งพรรษาจึงจะถือเป็น "คนสุก" ล่วนคนที่ยังไม่ได้บวชนั้น ถือว่ายังเป็น "คนดิบ" อยู่ เพราะผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาต้องศึกษาเเละปฏิบัติตน ตามพระธรรมวินัย เพื่อนำเอาความรู้ไปเป็นบทแก้ในการขัดเกลานิสัยของตนเองให้ดีงาม โดยตั้งอยู่บนพี้นฐานของความบริสุทธึ์กาย วาจา และใจ ซึ่งหากมีศรัทธาบวชสร้างบารมี ต่อไปก็จะเป็นพระแท้ให้ญาติโยมได้กราบไหว้อย่างสนิทใจ หรือหากจำเป็นต้องลาสิกขากลับ ไปใช้ชีวิตในเพศฆราวาส ก็สามารถประคับประคองตนเองและอบรมลังสอนบุตรหลานให้ตั้ง มั่นอยู่ในศีลธรรม ด้วยเหตุนี้สังคมไทยในอดีตจึงมีความลงบร่มเย็น ผู้คนส่วนใหญ่มีนิสัยที่ โอบอ้อม อารี รักบุญ กลัวบาป และมีความเชื่อในเรื่องของกฎแห่งกรรมอย่างแน่นแฟ้น
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการบวชอีกประการหนึ่งก็คือ ปัจจุบันชายไทย ส่วนใหญ่ มักมองข้ามความสำคัญของการบวช หรือหากบวช ก็นิยมบวชในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ ๗ วัน ซึ่งทำให้ผู้บวชไม่มีโอกาสได้ศึกษาธรรมะเหมีอนกับสมัยก่อนที่บวชเรียนกัน อย่างน้อยหนึ่งพรรษา ดังนั้น เมื่อผู้ชายยุคนี้แต่งงานมีครอบครัวไป จึงไม่ทราบว่า ควรจะ ต้องอบรมลูกหลานของตนให้เป็นคนดีได้อย่างไร กอปรกับสภาวะเศรษฐกิจที่บีบรัดก็ยิ่งทำให้ พ่อแม่ไม่มีเวลาพาลูกเข้าวัดฟืงธรรมเหมีอนในอดีต ด้วยเหตุนี้ คนไทยจึงค่อย ๆ เริ่มห่างวัด ห่างธรรมะ ไปเรื่อย ๆ จึงเป็นเหตุให้หิริโอตตัปปะในจิตใจของผู้คนค่อย ๆ จางหายไป ยุคนี้ มีผู้คนจำนวนมาก พร้อมที่จะทำผิดกฎหมายและประพฤติตนผิดดีลธรรม เพียงเพื่อแลกกับ การได้มาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง อำนาจ และชื่อเสิยงเกียรติยศ ดังนั้น ทุกวันนี้สังคมไทยจึง เต็มไปด้วยกระแสของบาปอกุศล ที่ครอบงำจิตใจของผู้คน ทำให้เกิดความเศร้าหมอง และ รุ่มร้อนไปกับปัญหาต่าง ๆ ที่กำลังประสบอยูในขณะนี้