โครงการอุปสมบทบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ประจำปี 2567
โครงการอุปสมบทบูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์ ประจำปี 2567
อบรมวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 - วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
พิธีบรรพชาและอุปสมบท วันที่ 3-5 ธันวาคม พ.ศ.2567
สมัครและสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมทั่วประเทศ
"บวช"
ทดแทนพระคุณบิดามารดา สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
เปิดทางสวรรค์และนิพพาน ให้กับตนและทุกคนในโลก
1. เข้าอบรมที่ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมภายในประเทศ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
2. บรรพชาและอุปสมบท ในพื้นที่ วันที่ 3-5 ธันวาคม พ.ศ. 2567
3. เดินทางมาที่วัดพระธรรมกาย วันที่ 8-10 ธันวาคม พ.ศ. 2567
4. เดินธรรมยาตรา วันที่ 2-31 มกราคม พ.ศ. 2568
5. จบโครงการ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
อานิสงส์การบวช
1. สามารถยกฐานะจากคนธรรมดาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย ที่มนุษย์และเทวดากราบไหว้
2. ผู้บวชจะได้ศึกษาธรรมะเพื่อเอาไว้ช่วยตนเองและผู้อื่น
3. ทำให้สามารถบรรลุธรรมในเบื้องต้นจนถึงเบื้องสูงมีมรรคผลนิพพาน เป็นแก่นสารในที่สุด
4. หากไม่บรรลุธรรมในชาตินี้ บุญกุศลอันมหาศาลจากการบวชย่อมไม่สูญเปล่า จะถูกสั่งสมไว้เป็นรากฐานแห่งการบรรลุธรรมในชาติต่อๆ ไป และยังส่งผลให้ผู้บวชมีความเจริญรุ่งเรืองในร่มเงาพระพุทธศาสนาไปนานถึง 64 กัป
5. ผลบุญกุศลอันมหาศาลจากการบวชจะไปตัดรอนวิบากกรรมที่กําลังจะส่งผล จากหนักให้เป็นเบาจากเบาเป็นหาย แม้ตายก็ไปดี
6. บุญกุศลอันมหาศาลจากการบวช จะส่งผลให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน พบช่องทางในการประกอบอาชีพที่ดีกว่า ร่ำรวยมีชื่อเสียง พลิกวิกฤตของชีวิตให้เป็นโอกาสได้โดยง่าย
7. บุญกุศลจากการบวชสามารถปิดอบาย เปิดทางไปสวรรค์ให้แก่ผู้บวชเอง และส่งผลโดยตรงกับพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ผู้ร่วมอนุโมทนา
และบุลคลที่ผู้บวชต้องการจะอุทิศให้
8. เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นแก่พุทธบริษัท 4 ทั้งแผ่นดิน เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทในการช่วยกันฟื้นฟูศีลธรรมและพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญรุ่งเรืองทางศีลธรรมเกิดความสงบร่มเย็นบนผืนแผ่นดินไทย ผ่านพ้นวิกฤตไปสู่ความเจริญในอนาคตอย่างรวดเร็ว
9. เป็นการสร้างผู้นำทางศีลธรรมให้เกิดขึ้นทั่วผืนแผ่นดินไทย สถาปนาวัดร้างให้เป็นวัดรุ่งสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาไปตราบนานเท่านาน
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
1. เป็นชายแท้ อายุ 20 ปีขึ้นไป
2. มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ โรคจิต โรคประสาท หรือโรคประจำตัวอื่นๆ ที่ร้ายแรง
3. ไม่ติดยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
4. ร่างกายไม่ทุพพลภาพ
5. เป็นผู้อยู่ง่าย กินง่าย ไม่เป็นอุปสรรคต่อการอบรม
6. มีคุณสมบัติอื่น ๆ ของผู้บวช ตามกฎมหาเถรสมาคม
ลิงก์ดาวน์โหลดใบสมัคร >>
https://drive.google.com/file/d/1S_9ussbelqu-vIxhk-dBGWiQuPSCuP5r/view?usp=drive_link
สมัครและสอบถามรายละเอียดได้ที่
ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดทั่วประเทศ
www.บวช.com
www.dmycenter.com
Line ID : @Dhammakayainfo
สนใจสอบถาม 02-831-1234
พระวินัยบัญญัติ
พระวินัยบัญญัติ
อปฺปเกนปิ เมธาวี
ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ
อณุํ อคฺคึว สนฺธมํ ฯ
ผู้มีปัญญา มีความพินิจรอบคอบ
ย่อมตั้งตัวได้ด้วยต้นทุนแม้เพียงเล็กน้อย
เหมือนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่.
ที่มา : จุลลกเสฏฐิชาดก ขุ.ชา. ๒๗/๔
ศีล 227 ข้อ
ศีล 227 ข้อ
ของพระภิกษุสงฆ์
ศีล 227 ข้อ เป็นศีลหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ศีล 227 จัดเป็นสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์
ขั้นตอนการบวชพระ
ขั้นตอนการบวชพระ
พิธีการบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง โดยคำว่า "อุกาสะ" แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุกาสะ จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า
อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล
อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล
อานิสงส์ของการบวช
๑. ประโยชน์อานิสงส์ที่ตัวผู้ขอบรรพชาจะได้รับนี้อย่างหนึ่ง
๒. ประโยชน์อานิสงส์ที่ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดา เป็นต้น จะได้รับ นี้อย่างหนึ่ง
๓. ประโยชน์ที่เพื่อนมนุษย์สัตวโลกทั้งหลายจะพึงได้รับ ตลอดจนศาสนาจะพึงได้รับร่วมกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง
การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
ระเบียบการกราบพระรัตนตรัย
การกราบ นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ คือ หัวเข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑ ให้จรดลงแนบกับพื้น และกราบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบนั้น ควรกล่าวคำนมัสการให้จบเสียก่อน จึงค่อยนอบน้อมตัวลงกราบ อย่าน้อมตัวลงในขณะที่กล่าวคำนมัสการยังไม่จบ มิฉะนั้นคำนมัสการจะขาดหายไป และเป็นการกราบที่ไม่พร้อมเพรียงกัน ไม่น่าดู