โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ๑๐๐,๐๐๐ คน
หลักการและเหตุผล
อุบาสิกา คือ ตำแหน่งของสตรีผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย ทำหน้าที่ในการอุปถัมภ์บำรุงและปกป้องคุ้มภัยให้แก่พระพุทธศาสนามาตลอดอายุพุทธกาล ดังเช่น
มหารัตนอุบาสิกาวิสาขา ผู้สร้างบุพพาราม วัดสำคัญในสมัยพุทธกาล จวบจนถึงปัจจุบันอุบาสิกาก็ยังคงเป็น ๑ ใน ๔ เสาหลักแห่งความมั่นคงของพระพุทธศาสนาเหมือนเมื่อครั้งพุทธกาล
อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน หมายถึง อุบาสิกาผู้มีศีล ๘ เป็นอาภรณ์ประดับกาย วาจา ใจ และปฏิบัติตามทางสายกลางคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมงดงามและบริสุทธิ์ ประดุจดอกไม้แก้วแรกแย้ม กายภายนอกก็ผุดผ่องใสด้วยอานุภาพแห่งศีลกายธรรมภายในที่เป็นหน่อเนื้อแห่งพุทธะ ก็สุกใสสว่าง ด้วยอานุภาพแห่งสมาธิและปัญญา เช่นนี้จึงได้ชื่อว่า เป็นอุบาสิกาผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง ยิ่งบังเกิดขึ้นมากเพียงใด ประเทศชาติและพระพุทธศาสนาก็ยิ่งมั่นคงถาวรเพียงนั้นดังนั้น คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม วัดพระธรรมกายมูลนิธิธรรมกาย สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัด โครงการบวชอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ๑๐๐,๐๐๐ คนขึ้นระหว่างวันที่ ๘-๑๕ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ เพื่ออบรมปลูกฝังศีลธรรมและอุดมการณ์พระพุทธศาสนาให้สตรีชาวพุทธนับแสนคน กลายเป็นอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนผู้มีความมั่นคงในพระรัตนตรัย อันหมายถึงความมั่นคงของพระพุทธศาสนา และการพัฒนาศีลธรรมของโลกให้รุ่งเรืองสืบต่อไป
วัตถุประสงค์โครงการ
๑. เพื่ออบรมปลูกฝังศีลธรรมและอุดมการณ์พระพุทธศาสนาให้แก่สตรีชาวพุทธ ได้เป็นอุบาสิกาผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัยอย่างแท้จริง
๒. เพื่อการฟื้นฟูศีลธรรม และวัฒนธรรมชาวพุทธให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งดังเช่นพุทธกาล
๓. เพื่อการพัฒนาสังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาศีลธรรมของประชาชน
ระยะเวลาอบรม
อบรมระยะเวลา ๘ วัน ระหว่างวันที่ ๘-๑๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ
กำหนดการอบรม
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๓
จันทร์ที่ ๘ มีนาคม - เข้าอบรม ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ
อังคารที่ ๙-ศุกร์ที่ ๑๒ มีนาคม - สมาทานรักษาศีล ๘
- เจริญสมาธิภาวนา
- อบรมวัฒนธรรมชาวพุทธ
เสาร์ที่ ๑๓ มีนาคม - ประกอบพิธีรับผ้าสไบแก้ว และร่วมปฏิบัติธรรม ณ วัดพระธรรมกาย
อาทิตย์ที่ ๑๔ มีนาคม - ปฏิบัติธรรม ณ ศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ
จันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม - วันสุดท้ายของการอบรมอุบาสิกาแก้ว
ของใช้ส่วนตัวที่ต้องเตรียมมา
๑. เสื้อขาวสำหรับใส่อบรม (แบบสุภาพ คอปิด มีแขน ไม่รัดรูป ไม่บาง ไม่เป็นผ้ายืด)และผ้าถุงหรือกระโปรง หรือ กางเกงใส่ปฏิบัติธรรม ยาวเหนือข้อเท้า เพียงพอสำหรับ 8 วัน
๒. เสื้อขาว ผ้าถุงขาวล้วน สำหรับวันบวชอุบาสิกาแก้ว ๑ ชุด
๓. เสื้อกันหนาวสีขาวหรือสีสุภาพ ๑ ตัว
๔. ชุดชั้นใน, เสื้อทับ, กระโปรงซับในอย่างหนา ๒-๓ ชุด
๕. ผ้าถุงสีเข้ม สำหรับใส่อาบน้ำ ๑-๒ ผืน
๖. ผ้าคลุมเข่าสีขาว ๑ ผืน
๗. ผ้าเช็ดตัว ๑ ผืน
๘. ผ้าห่ม หรือ ถุงนอน ๑ ผืน
๙. ไฟฉาย พร้อมถ่าน ๑ ชุด
๑๐. ยาประจำตัว
๑๑. รองเท้าแตะ ๑ คู่ /ไม้แขวนเสื้อ 6 อัน ไม้หนีบผ้า 12 อัน
๑๒. ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ / ยาสีฟัน / แปรงสีฟัน / ยาสระผม / ขันอาบน้ำ / ผ้าอนามัย
คุณสมบัติผู้เข้าอบรม
๑. หญิงแท้ อายุระหว่าง ๑๕-๖๕ ปี
๒. นับถือพระพุทธศาสนา
๓. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง โรคจิต โรคประสาท หรืออื่นๆที่เป็นอุปสรรคต่อการอบรม
๔. สามารถรักษาศีล ๘ ได้ตลอดการอบรม
๕. เป็นผู้อยู่ง่ายกินง่าย ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น
การรับสมัคร
๑. สมัครหรือสอบถามรายละเอียดได้ที่Call Center โทร ๐๒-๘๓๑-๑๒๓๔, ๐๘๗-๗๐๗-๗๗๗๑ ถึง ๓
๒. สมัครผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่ คลิกที่นี่
๓. สมัครด้วยตนเอง ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมทั่วประเทศ
๔. สมัครผ่านผู้ประสานงานโครงการในอำเภอของท่าน pdf ประชาสัมพันธ์จาก หนังสือพิมพ์ หน้า1 หน้า2
ที่ปรึกษาโครงการ
ประธานที่ปรึกษา
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กรรมการที่ปรึกษา
๑. พระวิสุทธาธิบดี (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.๙) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
๒. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
๓. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.๓) วัดยานนาวา
๔. พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙ ) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร
๕. พระพรหมสุธี ( เสนาะ ปญฺญาวชิโร ป.ธ.๖) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
๖. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
๗. พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.๗) วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง
๘. พระพุทธวรญาณ(ทอง สุวณฺณสาโร ป.ธ.๖) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
๙. พระธรรมวโรดม (สมเกียรติ กิตฺติวฑฺฒโน ป.ธ.๙) วัดทินกรนิมิต
๑๐. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
๑๑. พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.๖) วัดพระแก้ว จ.เชียงราย
๑๒. พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.๙) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
๑๓. พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
๑๔. พระธรรมคุณาภรณ์ (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดสามพระยาวรวิหาร
๑๕. พระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
๑๖. พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.๙) วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
๑๗. พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.๙) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
๑๘. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร
๑๙. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
๒๐. พระเทพปริยัติสุธี (อาทร อินฺทปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
๒๑. พระเทพปริยัติเมธี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดชลประทานรังสฤษฎ์
๒๒. พระเทพวีราภรณ์ (นิมิต ทนฺตจิตฺโต ป.ธ.๔) วัดโคกสมานคุณ จ.สงขลา
๒๓. พระเทพสุธี (สงคราม อสิญาโณ ป.ธ.๙) วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฏร์ธานี
๒๔. พระราชปริยัตยาภรณ์ (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.๕) วัดเขียนเขต เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
๒๕. เจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
๑. คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน
๒. คณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
๓. วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
๔. สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย
๕. ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ
๑. คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร
๒. คณะอนุกรรมาธิการพระพุทธศาสนา วุฒิสภา
๓. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๔. จังหวัดปทุมธานี
๕. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
๖. องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
๗. กรมกิจการพลเรือนทหารกองบัญชาการกองทัพไทย
๘. กรมกิจการพลเรือนทหารบก
๙. กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ
๑๐.กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
๑๑.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
๑๒. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
๑๓. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชนกระทรวงสาธารณสุข
๑๔. สมาพันธ์องค์การพัฒนาชุมชนแห่งประเทศไทย
๑๕. สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
๑๖. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย
๑๗. สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย
๑๘. ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
๑๙. สมาคมสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
๒๐. สภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร
๒๑. สภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติ
๒๒. V-Peace องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก
๒๓. สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติและเครือข่าย
๒๔. สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ได้อุบาสิกาแก้ว ผู้ทำนุบำรุง และอุปถัมภ์ปกป้องพระพุทธศาสนานับแสนคน
๒. ได้ฟื้นฟูศีลธรรม และวัฒนธรรมชาวพุทธในชุมชนทุกภาคส่วนทั่วประเทศไทย
๓. เป็นมหากุศล สร้างความร่มเย็นและนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่แผ่นดินไทย
๔. ผู้บวชอุบาสิกาแก้วได้หลักธรรมนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง