สามเณร แปลว่า เหล่ากอของสมณะ หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึง นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณร คือ ผู้ที่สั่งสมบุญเก่ามาในอดีตไว้ดีแล้ว จึงได้มีโอกาสมาบวชฝึกฝนตนเอง ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ยังเยาว์วัย
จากสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อทุกชีวิตของครอบครัว การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารโดยขาดการใช้วิจารณญาณส่งผลให้แต่ละคนแยกตัวเองออกมาจากสังคมปกติ และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษา อันเนื่องมาจากขาดวินัยในตนเอง ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เกิดความคิดเห็นแตกแยก โดยได้รับข้อมูลไม่ครบรอบด้าน ทําให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์กลายเป็นปัญหาสังคม แบบไม่รู้จบ
ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาครัฐและเอกชน จึงได้จัดโครงการ “บรรพชาสามเณรฟื้นฟูพระพุทธศาสนาทั่วไทย” ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งให้นักเรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม ความสํานึกในความเป็นไทย มีจิตสาธารณะอยู่อย่างพอเพียง มีความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคมพหุวัฒนธรรม ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมเป็นนิสัย
การบรรพชาสามเณรทั่วไทย เป็นการสร้างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมใหม่ให้กับเยาวชน หลังลาสิกขาจึงเป็นการปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองดีของชาติและเกิดพลังสืบสานพระพุทธศาสนาสืบไป
กำหนดการโครงการ
สมัครเข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่บัดนี้ ถึง 25 ตุลาคม 2557
วันเข้าศูนย์อบรมฯ สามเณรรุ่นโต (สามเณรพี่เลี้ยง) วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2558
วันบรรพชา สามเณรรุ่นโต (สามเณรพี่เลี้ยง) วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม 2558
วันเข้าศูนย์อบรม (สามเณรรุ่นเล็ก) วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2558
วันบรรพชา (สามเณรรุ่นเล็ก) วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม 2558
วันสิ้นสุดการอบรม วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน 2558
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1. นักเรียนชายแท้ (ไม่มีพฤติกรรมเบียงเบนทางเพศ)
2. สามเณรรุ่นโต (สามเณรพี่เลี้ยง) ขบการศึกษาในระดับชั้น ม.2 - ม.6
3. สามเณรรุ่นเล็ก จบการศึกษาในระดับชั้น ป.2 - ม.1
4. ได้รับอนุญาตจากบิดา หรือมารดา เป็นลายลักษณ์อักษร
5. สุขภาพแข็งแรงไม่พิการ หรือทุพพลภาพ สามารถนั่งคุกเข่านั่งพับเพียบได้
6. ต้องไม่ตอดยาเสพติด สุรา และบุหรี่
7. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น วัณโรค โรคติดเชื้อต่างๆ โรคเอดส์ เป็นต้น
8. ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการอบรม ่น โรคหอบหึด โรคลมชัก
9. ไม่เคยต้องคดีความ หรือกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาคดี
10. เป็นผู้มีวินัย มีความอดทน เป็นผู้อยู่ง่าย กินง่าย ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น
11. สามารถเข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตรการอบรม
12. สามารถท่องคำขานนาคได้