ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร ปีที่ 4
"ธรรมยาตรา" เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก
วันที่ 2 - 31 มกราคม พ.ศ. 2558
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมต้อนรับพระธุดงค์ 1,130 รูป เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา สืบสานวัฒนธรรมชาวพุทธ เสริมสิริมงคลต้อนรับศักราชใหม่ สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน ผ่าน 7 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-831-1234
ธุดงค์แปลว่าเครื่องกำจัดกิเลส
ธุดงค์ เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติ เป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ทำให้เกิดความมักน้อยสันโดษยิ่งขึ้น ธุดงค์เป็นพุทธประเพณีที่มีมาตั้งแต่โบราณกาล เมื่อพระธุดงค์จาริกไปในที่ใด ชาวบ้านต่างพากันไปตักบาตร ถวายภัตตาหาร น้ำปานะ ประทีปโคมไฟ อุปัฏฐากบำรุงท่านด้วยความปีติยินดี แต่ทว่าภาพอันงดงามนี้ นับวันจะเลือนหายไป โครงการธุดงค์ธรรมชัยจึงบังเกิดขึ้นเพื่อฟื้นฟูการเดินธุดงค์ให้กลับคืนมา ตามพระวินัยธุดงควัตรมีพุทธานุญาตไว้ 13 ข้อ พระในโครงการธุดงค์ธรรมชัย
ท่านถือธุดงควัตร 2 ข้อ คือ
1. ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร คือ ในแต่ละวันบริโภคอาหารเพียงครั้งเดียว เมื่อนั่งแล้วก็ฉันจนเสร็จ หลังจากนั้นก็จะไม่บริโภคอาหารอะไรอีกเลย นอกจากน้ำปานะหรือน้ำดื่ม
2. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร คือเมื่อเจ้าหน้าที่ให้ไปพักที่ไหน หรือจัดที่พักอย่างใดไว้ให้พักอาศัยในที่นั้นๆ โดยไม่เลือกว่าสะดวกสบาย หรือถูกใจหรือไม่
ธุดงค์ธรรมชัยเกิดขึ้นอย่างไร ?
วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย ร่วมกับองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ สถาบันการศึกษาต่างๆ และ 40 องค์กรภาคี จัดโครงการธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 4 "ธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก" ขึ้น ระหว่างวันที่ 2 - 31 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 1,130 รูป จากทั่วประเทศ ออกเดินธุดงค์ใน 7 จังหวัด ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่หลวงปู่วัดปากน้ำ "พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ" จาริกไปเพื่อปฏิบัติธรรมและสอนธรรมะซึ่งพระธุดงค์ได้เดินตามรอยพระเดชพระคุณหลวงปู่เพื่อปฏิบัติธรมให้เข้าถึงธรรมตามท่านไปด้วย
ธุดงค์ธรรมชัยตามรอย "เส้นทางพระผู้ปราบมาร"
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระภิกษุผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมและคุณวิเศษ ผู้มีชื่อเสียงด้านความศักดิ์สิทธิ์ "พระของขวัญวัดปากน้ำ" ท่านเป็นผู้ดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่างแก่ชาวโลก หมั่นฝึกฝนตนเองจนกระทั่งพิสูจน์ให้เราได้รู้จักที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ส่งผ่านสถานที่สำคัญแต่ละแห่ง ที่ได้ถูกจารึกว่าเป็น "เส้นทางพระผู้ปราบมาร" ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระมงคลเทพมุนี ได้แก่ สถานที่เกิด สถานที่บรรพชาอุปสมบท สถานที่บรรลุธรรม สถานที่เผยแผ่ธรรมะครั้งแรก สถานที่ปักหลักเผยแผ่วิชชาธรรมกาย และสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก ซึ่งมีลายระเอียดดังตอไปนี้
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระภิกษุผู้เปี่ยมด้วยคุณธรรมและคุณวิเศษ ผู้มีชื่อเสียงด้านความศักดิ์สิทธิ์ "พระของขวัญวัดปากน้ำ" ท่านเป็นผู้ดำเนินชีวิตเป็นแบบอย่างแก่ชาวโลก หมั่นฝึกฝนตนเองจนกระทั่งพิสูจน์ให้เราได้รู้จักที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ส่งผ่านสถานที่สำคัญแต่ละแห่ง ที่ได้ถูกจารึกว่าเป็น "เส้นทางพระผู้ปราบมาร" ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระมงคลเทพมุนี ได้แก่ สถานที่เกิด สถานที่บรรพชาอุปสมบท สถานที่บรรลุธรรม สถานที่เผยแผ่ธรรมะครั้งแรก สถานที่ปักหลักเผยแผ่วิชชาธรรมกาย และสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก ซึ่งมีลายระเอียดดังตอไปนี้
1.สถานที่หลวงปู่เกิด ณ บ้านสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
2.สถานที่บรรพชาอุปสมบท ณ วัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านตั้งใจบวชอุทิศชีวิตให้แก่พระศาสนา เมื่อปี พ.ศ.2449 ได้รับฉายาว่า "จนฺทสโร"
3.สถานที่บรรลุธรรม ณ วัดโบสถ์(บน) ตำบลบางคูเวียง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี เมื่อย่างเข้าพรรษาที่ 16 ในวันเพ็ญเดือนสิบ ปี พ.ศ.2460 ท่านจึงตั้งสัจจาอฐิษฐานว่า "ถ้านั่งลงไปครั้งนี้ แล้วไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ท่านจะไม่ลุกจากที่" ท่านก็นั่งเจริญภาวนาจนเข้าถึงธรรมกาย
4.สถานที่ปักหลักเผยแผ่ธรรมครั้งแรก ณ วัดบางปลา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ท่านเริ่มสอนธรรมปฏิบัติ ณ ที่แห่งนี้เป็นครั้งแรก ท่านสอนอยู่ประมาณ 4 เดือน จึงได้มีพระภิกษุที่สามารถปฏิบัติตามอย่างท่านได้ 3 รูป คือ พระภิกษุสังวาล พระภิกษุแบน พระภิกษุอ่วม และคฤหัสถ์อีก 4 คน
5.สถานที่ปักหลักเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ณ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ท่านได้ทุ่มเทเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชนทั้งในและต่างประเทศ จนกระทั่งในขณะนั้น เป็นวัดที่มีจำนวนพระภิกษุสามเณรมากที่สุดในประเทศไทย จวบจนกระทั่งหลวงปู่ได้มรณภาพ ลงเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 รวมอายุได้ 75 ปี
6.สถานที่สืบสานวิชชาธรรมกาย ณ วัดพระธรรมกาย อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สถานที่สืบสานมโนปณิธานของหลวงปู่ที่ท่านปรารถนาจะขยายวิชชาธรรมกาย ไปให้แก่ทุกเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ทั่วโลก
พระของขวัญ ผู้ไปร่วมต้อนรับคณะพระธุดงค์
ผู้ไปร่วมต้อนรับพระธุดงค์จะได้รับพระของขวัญ เป็นเหรียญหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อรับไปแล้วให้หมั่นระลึกถึงท่านและตั้งใจทำความดี เช่น ทำทาน รักษาศีล และทำสมาธิ(Meditation)ภาวนาอยู่เสมอๆ อานุภาพของพระรัตนตรัยจะคุ้มครองปกปักรักษาให้ทุกท่านแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง
ดอกไม้บนเส้นทางสายทองคำ
ดอกไม้ที่นำมาโปรยต้อนรับพระธุดงค์ ก็คือ ดอกดาวเรืองซึ่งเป็นดอกไม้มงคลที่มีชื่อเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง และมีสีสันเหลืองอร่ามงดงามประดุจทองคำล้ำค่า ดาวเรืองจึงเป็นดอกไม้ที่ควรค่าแก่การรองรับก้าวย่างอันเป็นมงคลของพระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กำลังเดินธุดงค์เพื่อประกาศพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เปรียบดั่งเส้นทางที่เป็น "เส้นทางสายทองคำ" สำหรับชื่อ "ดาวรวย" นั้น มาจากชื่อเต็มว่า "ดอกดาวรวย พันธุ์ทองชฎิลเศรษฐี" ซึ่งพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เป็นผู้ตั้งให้ใหม่เพื่อความเป็นสิริมงคลและความรุ่งเรือง ร่ำรวยแก่ผู้โปรย
คำอฐิษฐานจิต โปรยกลีบดาวรวย ต้อนรับพระธุดงค์ธรรมชัย