เนื้อหา
ระเบียบการกราบพระรัตนตรัย
การกราบ นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ คือ หัวเข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑ ให้จรดลงแนบกับพื้น และกราบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบนั้น ควรกล่าวคำนมัสการให้จบเสียก่อน จึงค่อยนอบน้อมตัวลงกราบ อย่าน้อมตัวลงในขณะที่กล่าวคำนมัสการยังไม่จบ มิฉะนั้นคำนมัสการจะขาดหายไป และเป็นการกราบที่ไม่พร้อมเพรียงกัน ไม่น่าดู
ขั้นตอนการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
ขั้นตอนการกราบมีทั้งหมด 3 ขั้นตอนหลัก คือ อัญชลี (การพนมมือไว้ระหว่างอก) วันทา (การพนมมือจรดศีรษะ) และอภิวาท (การก้มลงกราบ)
มีที่แตกต่างกัน 2 แบบคือ สำหรับผู้ชาย เรียกว่า ท่าเทพบุตร และผู้หญิง เรียกว่า ท่าเทพธิดา
ขั้นตอนที่ 1 ท่านั่ง
ท่านชาย
|
ท่านหญิง
|
1. นั่งชันเข่า 2. ระหว่างเข่าห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ 3. นั่งหลังตรง |
1. นั่งคุกเข่าราบ 2. ระหว่างเข่าห่างประมาณ 1 ฝ่ามือ 3. นั่งหลังตรง |
ขั้นตอนที่ 2 ท่าอัญชลีท่านชาย และท่านหญิง 1. นำมือทั้ง 2 มาพนมบริเวณหน้าอก ทำมุมเฉียง 45 องศา |
|
|
|
ขั้นตอนที่ 3 วันทาท่านชายและท่านหญิง 1. นำมือจรดศีรษะโดย นิ้วชี้จรดประมาณจอนผม นิ้วโป้งจรดประมาณหัวคิ้ว |
|
ขั้นตอนที่ 4 อภิวาทท่านชายและท่านหญิง 1. กราบโดยอวัยวะทั้ง 5 ส่วนสัมผัสกับพื้นได้แก่ ฝ่ามือทั้ง 2 หัวเข่า 2 หน้าผาก 1 |
|
ท่านชาย , ข้อศอกต่อเข่า |
ท่านหญิง , ข้อศอกแนบเข่า |
3. อยู่ในท่าค้างนับประมาณ 3 วินาที (ช่างภาพมักจะเก็บภาพในจังหวะนี้) จึงค่อยขึ้นมาอยู่ในท่าอัญชลีเหมือนเดิม 4. เมื่อกราบครบ 3 ครั้ง จึงค่อยค้อมศีรษะลงเล็กน้อยแล้วจบด้วยท่าวันทา ถือเป็นการเสร็จแบบอย่างการกราบที่สมบูรณ์ |
|
ข้อควรทราบ1. ในขณะที่อยู่ในพิธีกรรมซึ่งเป็นการประชุมสงฆ์จำนวนมาก พระภิกษุทุกรูปต้องมีความพร้อมเพรียงกันในการกราบ เพื่อให้เป็นต้นแบบและเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของสาธุชน ถือได้ว่าเป็นความรับผิดชอบของหมู่คณะ ในการกราบให้มีความพร้อมเพรียงกันได้นั้น พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณได้เมตตาแนะนำไว้ว่า ให้ “ลืมตากราบ” “สังเกตจังหวะการกราบ” ของพระภิกษุรูปข้าง ๆ และ “กราบตามการให้สัญญาณของพิธีกร” “ไม่ควรหลับตากราบ” เพราะจะเป็นเหตุแห่งการกราบไม่พร้อมเพรียงกัน 2. การกราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง มีจุดมุ่งหมายว่า ครั้งที่ ๑ เป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธ ครั้งที่ ๒ ระลึกถึงคุณของพระธรรม ครั้งที่ ๓ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ เรียกว่า ยิ่งกราบยิ่งมีปัญญา |