โครงการอุปสมบทหมู่ ครบรอบ 105 ปี วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
โครงการอุปสมบทหมู่ ครบรอบ 105 ปี
วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
ระหว่างวันที่ 21 สิงหาคม - 2 ตุลาคม พ.ศ.2565
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 096-795-3472 , 083-559-9565
ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับการฝึกฝนอบรมตนเอง ศึกษาธรรมะทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีความเข้าใจการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องอยู่ธุดงควัตร รักษาศีลแปด ฝึกธรรมะขั้นพื้นฐาน ความดีสากล ตามหลักพุทธวิธี เพื่อเตรียมพร้อมก่อนบวช ประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากบวชแล้ว พระพี่เลี้ยงคอยดูแลแนะนำ ให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ผู้ที่ผ่านการอบรมย่อมได้รับบุญกุศลติดตามตัวไป อีกทั้งบิดามารดา และผู้สนับสนุนการบวชทุกท่าน ย่อมได้รับอานิสงส์การบวชไปด้วย เมื่อจบโครงการแล้ว ธรรมทายาทจะได้นำธรรมะที่ได้ศึกษา ไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เพื่อความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
กำหนดการ
เริ่มโครงการ วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2565
บรรพชา อุปสมบท วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ.2565
วันครูวิชชาธรรมกาย วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ.2565
จบโครงการ วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2565
หลักฐานการสมัคร (เตรียมมาให้พร้อมในวันสมัคร)
1. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ใบ
3. สำเนาหลักฐานการศึกษา จำนวน 1 ใบ
คุณสมบัติของผู้บวช
1. เป็นชายแท้ (ไม่เบี่ยงเบนทางเพศ)
2. ไม่กำหนดวุฒิการศึกษา
3. มีอายุ 20 - 50 ปี
4. ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง
5. สุขภาพแข็งแรง ไม่พิการหรือทุพพลภาพ สามารถนั่งคุกเข่าท่าเทพบุตร นั่งพับเพียบเป็นเวลานานได้ และน้ำหนักไม่มากจนเป็นอุปสรรคอบรม
6. ต้องไม่ติดยาเสพ สุรา และบุหรี่
7. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น วัณโรค โรคติดเชื้อต่างๆ โรคเอดส์ เป็นต้น
8. ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการอบรม เช่น โรคหอบหืด โรคลมชัก โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เป็นต้น
9. ไม่เคยถูกต้องคดีความร้ายแรงหรือกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาคดี
10. เป็นผู้มีวินัย อดทน อยู่ง่ายกินง่าย ไม่เลือกอาหาร ไม่เป็นภาระต่อผู้อื่น
11. สามารถเข้ารับการอบรมได้ตลอดหลักสูตรการอบรม
12. ไม่มีรอยสักอันไม่เหมาะสม (คณะกรรมการจะพิจารณาในวันสมัคร)
13. ท่องคำขานนาคได้
ของใช้ในการอบรมที่ต้องนำมาเอง
1. ชุดอบรมธรรมยาท สีขาวล้วน ไม่มีลาย จำนวน 2 ชุด
2. เสื้อเชิ๊ตแขนสั้นสีขาว ไม่ลาย 1 ตัว (ใช้ในวันบรรพชา)
3. ของใช้ส่วนตัว เช่น ขันน้ำสีขาว สบู่ แชมพู ผงซักฟอก แปรงสีฟันและยาสีฟัน ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย
4. กางเกงขาสั้นหรือผ้าขาวม้าสำหรับใส่อาบน้ำ และผ้าเช็ดตัวสีเหลือง
5. ยาประจำตัว เช่น ยาแก้แพ้ ยาทากันยุง ยาแก้โรคกระเพาะ
6. ผ้าห่มสีเหลือง จำนวน 1 ผืน
7. มีดโกนหนวดพร้อมใบมีด อย่างน้อย 4 ใบ
8. รองเท้าแตะสีน้ำตาล จำนวน 1 คู่
ของที่ไม่อนุญาตให้ใช้ในการอบรม
1. หนังสืออ่านเล่น หรือสื่อที่เป็นอุปสรรคต่อการฝึกสมาธิ
2. อาหารและของขบเคี้ยวทุกชนิด
3. เครื่องเล่นสื่อต่างๆ ทุกชนิด (วิทยุเทป MP3 MP4) กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ
รวมถึงอุปกรณ์สำหรับเก็บ ข้อมูลทุกประเภท และอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด
4. กระจกส่องหน้า รูปภาพของญาติมิตร
5. ของมีค่าและเครื่องประดับทุกชนิด เช่น แหวน สร้อยคอ เครื่องรางของขลัง
สร้อยข้อมือ สายสิญจน์ เป็นต้น
6. อุปกรณ์สำหรับติดต่อสื่อสารทุกชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ
(หมายเหตุ : คณะกรรมการจะตรวจและเก็บดูแลของเหล่านั้นแทนท่านระหว่างการอบรม)
ของที่ห้ามนำติดตัวตลอดการอบรม
1. วัตถุมีคม อาวุธ สิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันรายต่อชีวิตและทรัพย์สินต่าง ๆ
2. บุหรี่ รวมถึงยาเสพติดทุกชนิด
สมัครได้ที่
โทร. 096-795-3472
โทร. 083-559-9565
พระวินัยบัญญัติ
พระวินัยบัญญัติ
อปฺปเกนปิ เมธาวี
ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ
อณุํ อคฺคึว สนฺธมํ ฯ
ผู้มีปัญญา มีความพินิจรอบคอบ
ย่อมตั้งตัวได้ด้วยต้นทุนแม้เพียงเล็กน้อย
เหมือนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่.
ที่มา : จุลลกเสฏฐิชาดก ขุ.ชา. ๒๗/๔
ศีล 227 ข้อ
ศีล 227 ข้อ
ของพระภิกษุสงฆ์
ศีล 227 ข้อ เป็นศีลหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ศีล 227 จัดเป็นสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์
ขั้นตอนการบวชพระ
ขั้นตอนการบวชพระ
พิธีการบวชพระที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน คือ แบบอุกาสะ และแบบเอสาหัง โดยคำว่า "อุกาสะ" แปลว่า ขอโอกาส ส่วนคำว่า "เอสาหัง" แปลว่า ข้าพเจ้านั้น ในประเทศไทยการบวชพระแบบอุกาสะ จะใช้กันในคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ซึ่งเป็นแบบเดิมที่ใช้กันมาแต่โบราณกาล ส่วนการบวชพระแบบเอสาหัง จะใช้ในคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย โดยการประยุกต์มาจากแบบอุกาสะเพื่อย่อขั้นตอนให้สั้นขึ้น มีใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาลสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยึดรูปแบบมาจากพระสงฆ์ประเทศพม่า
อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล
อานิสงส์การบวช กับ สามัญญผล
อานิสงส์ของการบวช
๑. ประโยชน์อานิสงส์ที่ตัวผู้ขอบรรพชาจะได้รับนี้อย่างหนึ่ง
๒. ประโยชน์อานิสงส์ที่ญาติทั้งหลายมีบิดา มารดา เป็นต้น จะได้รับ นี้อย่างหนึ่ง
๓. ประโยชน์ที่เพื่อนมนุษย์สัตวโลกทั้งหลายจะพึงได้รับ ตลอดจนศาสนาจะพึงได้รับร่วมกัน นี้อีกอย่างหนึ่ง
การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
ระเบียบการกราบพระรัตนตรัย
การกราบ นิยมกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๕ คือ หัวเข่า ๒ ฝ่ามือ ๒ และหน้าผาก ๑ ให้จรดลงแนบกับพื้น และกราบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบนั้น ควรกล่าวคำนมัสการให้จบเสียก่อน จึงค่อยนอบน้อมตัวลงกราบ อย่าน้อมตัวลงในขณะที่กล่าวคำนมัสการยังไม่จบ มิฉะนั้นคำนมัสการจะขาดหายไป และเป็นการกราบที่ไม่พร้อมเพรียงกัน ไม่น่าดู