พิมพ์
รายละเอียด: | ฮิต: 15747

ให้เรตสมาชิก: 3 / 5

ดาวใช้งานดาวใช้งานดาวใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

 581003_14.jpg - 93.11 kb

คุณธรรมที่ทำให้เป็นผู้บริสุทธิ

      ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสอธิบายถึงสามัญญผลเบื้องสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป พระพุทธองค์ทรงวางรากฐานความเข้าใจในเรื่องของการบวชให้กับพระเจ้า

อชาตศัตรู ดังต่อไปนี้

แรงจูงใจและเป้าหมายในการบวช

      กุลบุตรที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา มิได้บวชเพราะถูกบังคับ แต่เป็นเพราะมีศรัทธาในพระธรรม และมีปัญญาไตร่ตรองถึงสภาวะอันแท้จริงของชีวิต

จึงตัดสินใจเข้ามาบวชดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรูว่า

 

         “ เมื่อพระตถาคตทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ให้รู้ตาม ... คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูล

หนึ่งย่อมฟังธรรมนั้นครั้นฟัง แล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอด

โปร่ง การทีบุคคลผู้ครอง เรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด๒ ไม่ใช่ทำไ ด้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและ

หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์

ออกบวชเป็นบรรพชิต..”

 

      จากพระธรรมเทศนาที่ยกมานี้ จะเห็นว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์ที่จะแสดงให้พระเจ้าอชาตศัตรูเข้าพระทัยว่า แรงจูงใจที่เป็นเหตุให้บุรุษ

เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนานั้นมี ๓ ประการ คือ

๑. มีศรัทธาในพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

๒. มีปัญญาตรองเห็นโทษภัยในชีวิตฆราวาสว่า ทั้งคับแคบ และเป็นที่มาของกิเลส

๓. มีปัญญาตรองเห็นคุณของชีวิตนักบวชว่า มีโอกาสประพฤติพรหมจรรย์ได้เต็มที่

 

      ด้วยแรงจูงใจเช่นนั้นจึงตัดสินใจเข้ามาบวช ดังนั้นการบวชของพระภิกษุในพระพุทธศาสนาจึงเป็นการบวชที่มีเป้าหมายดีงาม และ สูงส่ง จากแรงจูงใจข้อ ๒ และ ๓ ย่อมกำหนดเป็นเป้าหมายในการบวชได้ ๒ ประการ คือ

๑. บวชเพื่อละบาปอกุศลทั้งปวง หรือบวชเพื่อละกามนั่นเอง

๒. บวชเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ อันเป็นการสั่งสมบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

 

สิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ชีวิตฆราวาสเป็นที่ประชุมแห่งบาปอกุศลก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า

 

“ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี”

 

     “ฆราวาสคับ แคบ” หมายความว่า การใช้ชีวิต แบบฆราวาสนั้นต้องเกี่ยวข้องพัวพันอยู่ด้วยเรึ่องกาม ฆราวาสทั้งหลายจึงตกอยู่ในอำนาจของกาม หรือตก

เป็นทาสของกาม

 

---------------------------------------------------------

๑ พรหมจรรย์ หมายถึง การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ การครองชีวิตอันประเสริฐ กัลยาณปุถุชนและพระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุ

อรหัตตผล ได้ชื่อว่า “กำลังอยู่พรหมจรรย์” ส่วนพระอรหันต์ได้ชื่อว่า “อยู่จบพรหมจรรย์ ”แล้วคือ เสร็จกิจที่ต้องทำในการกำจัดกิเลสอาสวะ เพราะหมดกิเลส

แล้ว

๒  สังข์ขัด หมายถึง หอยสังข์ที่ถูกนำมาขัดทำความสะอาดจนมีสีขาวสะอาดบริสุทธิ์ และตกแต่งประดับประดาด้วยโลหะ เช่น เงินหรือทองจนสวยงาม เหมาะ

สำหรับใช้หลั่งพระพุทธมนต์หรือใช้เป่า วิธีการทำสังข์ขัดนี้ยุ่งยากและซับซ้อนมากมาย

๓  สามัญญผลสูตร ที.สี. ๙/๑๐๒/๘๒-๘๓