จากพระดำรัสที่ยกมานี้ ย่อมเห็นแล้วว่า แม้พระภิกษุ ที่บริบูรณ์ด้วยศีลทั้งปวง ด้วยอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะและสันโดษอันเป็นอริยะแล้ว ถ้ายังละ “นิวรณ์” ไม่
ได้ กายและใจของพระภิกษุรูปนั้น ก็ยังไม่สามารถสงัดจากกามและอกุศลธรรมถึงจะทุ่มเท เวลาเจริญภาวนาไปนานแสนนาน ก็ไม่สามารถบรรลุคุณวิเศษอย่างใด ต่อ
เมื่อละนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการได้แล้ว กายและใจจึงสงัดจากกาม หมดความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และสงัดจากอกุศลธรรม คือ “อภิชฌา” และ “โทมนัส” ซึ่งก็
คือ “ความยินดียินร้าย” ที่สามารถบังคับใจให้คิดทำความชั่วต่าง ๆ ได้ทั้งสิ้น
นิวรณ์ คือ กิเลสที่ปิดกั้นใจไม่ให้บรรลุความดี ไม่ให้ก้าวหน้าในการเจริญภาวนา ทำให้ใจซัดส่าย ไม่ยอมให้ใจรวมหยุดนิ่งเป็นหนึ่ง หรือเป็นสมาธิ นิวรณ์มี ๕
ประการ คือ
อันได้แก่รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เนื่องจากใจยังหลงติดในรสของกามคุณทั้ง ๕ นั้น จนไม่สามารถสลัดออกได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบกามฉันทะเหมือน “หนี้” คือ ผู้ที่เป็นหนี้เขา แม้จะถูกเจ้าหนี้ทวงถามด้วยคำหยาบก็ไม่อาจโต้ตอบอะไรได้ ต้องสู้ทนนิ่งเฉย
เพราะเป็นลูกหนี้เขา แต่ถ้าเมื่อใดชำระหนี้หมดสิ้นแล้ว มีทรัพย์เหลือเป็นกำไร ย่อมมีความรู้สึกเป็นอิสระและสบายใจ อุปมาข้อนี้ฉันใด ผู้ที่สามารถละกามฉันทะในจิตใจ
ได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมมีความปราโมทย์ยินดีอย่างยิ่งฉันนั้น
ได้แก่ความขุ่นใจ ความขัดเคืองใจ ความไม่พอใจ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความเกลียด ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้ใจกระสับกระส่าย ไม่เป็นสมาธิ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบพยาบาทเหมือน “โรค” ผู้ที่เป็นโรคต่าง ๆ ย่อมมีทุกข์ มีความเจ็บป่วย ไม่สบายทั้งกายและใจ เมื่อจะทำการสิ่งใดก็ต้องฝืนทำ
ด้วยความทรมาน ยากที่จะพบความสุขความสำเร็จได้ฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจพยาบาท ใจย่อมเป็นทุกข์ กระสับกระส่าย แม้จะพยายามปฏิบัติธรรม ก็ยากที่จะ
ซาบซึ้งในรสแห่งธรรม ไม่อาจพบความสุขอันเกิดจากฌานได้ฉันนั้น
ขาดความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ขาดกำลังใจและความหวังในชีวิต เกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ไม่คิดอยากทำสิ่งใด ๆ บุคคลที่ใจหดหู่ ย่อมขาดความวิริ
ยอุตสาหะในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้แต่ปล่อยให้ความคิดเลื่อนลอยไปเรื่อย ๆ จึงไม่สามารถรวมใจเป็นหนึ่งได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบถีนมิทธะเหมือน “การถูกจองจำอยู่ในเรือนจำ” คนที่ถูกจองจำอยู่ในเรือนจำนั้น ย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับความบันเทิงจาก
การเที่ยวดูหรือชมมหรสพต่าง ๆ ในงานนักขัตฤกษ์ฉันใด ผู้ที่ตกอยู่ในอำนาจถีนมิทธะนิวรณ์ย่อมหมดโอกาสที่จะได้รับรู้รสแห่งธรรมบันเทิง คือ ความสงบสุขอันเกิดจาก
ฌานฉันนั้น
อันเกิดจากการปล่อยใจให้เคลิบเคลิ้มไปกับเรื่องที่มากระทบใจแล้วคิดปรุงแต่งเรื่อยไปไม่สิ้นสุด บางครั้งก็ทำให้หงุดหงิด งุ่นง่านความรำคาญใจและความฟุ้งซ่าน
เหล่านี้ ย่อมทำให้ใจชัดส่ายไม่อยู่นิ่ง ไม่เป็นสมาธิ แม้ต้องการจะเอาใจจดจ่อกับเรื่องใด ก็ไม่สามารถทำได้ตามปรารถนา เพราะใจจะคอยพะวงคิดไปถึงเรื่องอื่น ใจจึง
ไม่มีความเป็นใหญ่ในตัว ควบคุมใจตัวไม่ได้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบอุทธัจจกุกกุจจะเหมือน “ความเป็นทาส” ผู้ที่เป็นทาสเขา จะไปไหนตามความพอใจไม่ได้ ต้องคอยพะวงถึงนาย เกรงจะถูก
ลงโทษ ไม่มีอิสระในตัว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปรียบวิจิกิจฉาเหมือน “บุรุษผู้มั่งคั่งเดินทางไกลและกันดาร พบอุปสรรคมากมาย” บุรุษที่เดินทางไกล หากเกิดความสะดุ้งกลัวต่อพวก
โจรผู้ร้าย ย่อมเกิดความลังเลใจว่า ควรจะไปต่อไปหรือจะกลับดี ความสะดุ้งกลัวพวกโจรผู้ร้าย เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลของบุรุษฉันใด ความลังเลสงสัยในคำ
สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุอริยภูมิของพระภิกษุฉันนั้น
ผู้เจริญภาวนา หากถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ แม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งเข้าครอบงำ ย่อมไม่อาจรวมใจให้เป็นหนึ่งได้ ต่อเมื่อทำใจให้ปลอดจากนิวรณ์ทั้ง ๕ รักษาใจให้แน่วแน่
ใจจึงจะรวมเป็นหนึ่งซึ่งเรียกว่า “สมาธิ”