พิมพ์
รายละเอียด: | ฮิต: 14349
ดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งานดาวไม่ได้ใช้งาน
 

คิด พูด ทำ อย่างสมณะ

       พระและสามเณรที่ดีนั้นจะต้องมี “สมณสัญญา” คือ คิดแบบสมณะ พูดแบบสมณะ  และทำแบบสมณะเมื่อ ใดเราลืมตาตื่นขึ้นมา เห็นผ้ากาสาวพัสตร์ห่มคลุมกาย

ของเราอยู่ ก็ให้มีจิตสำนึกในการเป็นนักบวชขึ้นมาทันที แล้วก็คิดแบบพระ พูดแบบพระและทำแบบพระ ทำอย่างนี้ไปจนกระทั่งเข้าจำวัด

        วิธี คิดแบบสมณะ พูดแบบสมณะ หรือทำแบบสมณะนั้น มีแบบอย่างอยู่แล้วในพระธรรมวินัย อันเป็นตัวแทนของพระบรมศาสดา ซึ่งเราต้องขวนขวายศึกษา ทั้ง

ศึกษาจากตำรับตำรา และถามผู้รู้ คือ ครูบาอาจารย์ เพื่อให้ท่านช่วยขจัดสิ่งที่สงสัยอยู่ให้หมดสิ้นไป เราจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และเป็นสมณะที่สมบูรณ์ เป็นเนื้อ

นาบุญ เป็นอายุของพระพุทธศาสนา ควรแก่การเคารพ กราบไหว้ บูชา ของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย

 

       หากทำได้อย่างนี้ ตัวเราเองก็จะเกิดความปีติปราโมทย์ว่า เรานี้มีความดีเต็มเปี่ยมอยู่ในกาย วาจา และใจ  แม้แต่ตัวเรายังเคารพและชื่นชมตัวเราเองได้ว่า ตัวเรานี้

เป็นสมณะที่สมบูรณ์ทั้งข้างนอกและข้างใน และจะดื่มด่ำในธรรมปีตินี้ได้ตลอดทั้งวันทั้งคืน

 

สมณสัญญาพาเข้าถึงธรรม

       ธรรม ปีติจะทำให้เราเข้าถึงปัสสัทธิ คือ ความสงบกายและใจ กายก็ไม่กระสับกระส่าย ใจก็ไม่ฟุ้งซ่าน มีใจตั้งมั่น บริสุทธิ์ ผ่องใส เต็มเปี่ยมไปด้วยกุศลธรรมใจ ที่

เต็มเปี่ยมไปด้วยกุศลธรรมนี้ จะส่งผลให้เราเข้าถึงเอกัคคตา คือ ใจหยุดนิ่งเข้าถึงความเป็นหนึ่งภายในเป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระ พ้นจากนิวรณ์ทั้ง ๕ และพ้นจาก

อกุศลธรรม ใจจะสะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใสยิ่งขึ้นไปตามลำดับ ตามกำลังของความเพียร และความตั้งใจจริงของเรา

 

      จน กระทั่งเข้าถึงดวงธรรมภายใน ที่มาพร้อมกับความสว่างไสว ความสุขอันละเอียดอ่อน ความสมหวังในชีวิต และความรู้แจ้ง มาพร้อมกับสติปัญญา และทุกสิ่งที่ดี

งาม นับเป็นความสมหวังอันดับแรกของการที่ได้เข้ามาบวชในบวรพระพุทธศาสนาด้วย ความบริสุทธิ์ที่ได้ประคับประคองมาทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นจากจำวัด จนกระทั่งเข้า

จำวัด เราจะมีความรู้สึกศรัทธาเลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดเวลา ใจจะดื่มด่ำเข้าไปตามลำดับ จนกระทั่งเข้าไปถึงกายในกาย และเข้าถึง

พระธรรมกายในที่สุด

 

 

วันอาทิตย์ที่ ๒๐ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

จากหนังสือพรรษาวิสุทธิ์....จัดพิมพ์ปี พ.ศ.๒๕๔๒