หน้าที่ชาวพุทธแท้
๑. ฟังธรรม สิงที่ชาวพุทธจะต้องรู้ คือ คืกษาพุทธประวิติ จะได้รู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือใคร เพี่อให้เกิดศรัทธาและมีปัญญาในการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง คืกษา หลักธรรม เช่น ฆราวาสธรรม และกฎแห่งกรรม จะทำให้เข้าใจความเป็นจริงของโลกและ ชีวิตได้อย่างถูกต้อง เมื่อรู้ว่าคำสอนคือย่างไร แล้วหน้าที่ต่อไปก็คือลงมีอปฏิบัติตามคำสอน ซึ่งสรุปเป็นสูตรหลักของชีวิต คือ ละชั่ว ทำดี และทำใจให้ผ่องใส คืกษาวิถีชาวพุทธ เพื่อ การดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง คืกษาหลักในการบำเพ็ญบุญและพิธีกรรม ทางศาสนา เช่น วันพระ วันเข้าพรรษา วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา เป็นต้น
๒. เผยแผ่ธรรมะหรือขยายความรู้สึกดี ๆ ที่เกิดจากการปฏิบัติไม่ควรเก็บไว้ เฉย ๆ แต่ต้องนำไปประกาศให้ชาวโลกได้รู้ต้วย ต้องมีหัวใจของยอดกัลยาณมิตรในการ สร้างคนให้เป็นคนดี จะอาศัยพระภิกษุทำหน้าที่เผยแผ่อย่างเดียวไม่ได้ ฝ่ายบ้านและวัดจะ ต้องทำงานประสานกัน พระพุทธศาสนาจึงจะเจริญรุ่งเรือง เช่น ชาวพุทธต้องแสดงตนเป็น พุทธมามกะที่ดี เพื่อให้ผู้อื่นไต้พิสูจน์ผลการปฏิบ้ตตามคำสอนว่าดีจริง จนเกิดความเลื่อมใส และอยากประพฤติปฏิบัติตาม
๓. ทำนุบำรุงและปกป้องพระศาสนา เราชาวพุทธแท้ต้องไม่นิ่งดูดาย ดังที่คุณครู ไม่ใหญ่ได้สอนพวกเราไว้ว่า "เรื่องส่วนตัวให้วางอุเบกขา เรื่อง พระศาสนาให้เอาอุเบกขา วาง ..แล้วก็ลุย" โดยต้องตั้งใจรักษาสมบัติของพระศาสนา อันได้แก่ คำสอนของพระพุทธองค์ ต้องรักษาให้มั่น อย่าให้ใครมาบิดเบือนได้ นำความรู้ ความเข้าใจใน ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมาเป็นเกราะป้องกันภัย ให้พระศาสนา
ศาสนวัตถุและศาสนบุคคล ต้องช่วยกันดูแลวัดวาอารามอันเป็นแหล่งคำสอน และอุปัฏฐากดูแลพุทธบุตร สนับสนุนงานพระพุทธศาสนาอย่างเต็มกำลัง
สรุปได้ว่า หน้าที่ของชาวพุทธ คือ เข้าวัดฟังธรรม ปฎิบัติธรรม บำเพ็ญบุญ และสนับสนุนงานพระศาสนา
เมื่อชาวพุทธปฏิบัติตามหลักการนี๋ได้ ความเป็นชาวพุทธแท้ก็จะบังเกิดขึ้น ทำให้ เป็นผู้มีศรัทธา ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เป็นผู้มีคืลบริสุทธิ์ เข้าใจกฎแห่งการกระทำ ไม่งมงายใน โชคลาง จะมีตถาคตโพธิศรัทธา ตั้งมั่น ไม่ถึอมงคลตื่นข่าวในสิ่งที่ถือกันว่าขลังหรึอศักดิ์สิทธิ์ เป็นผู้มีโอกาสตักตวงบุญในพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่ ละโลกแล้วก็มีสุคติสวรรค์เป็นที่ไป เรา จะได้ชื่อว่าเป็นดุจข้างเท้าหลังที่ทรงพลังในการช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เป็นที่พึ่งของ ชาว โลก สืบ ไป
...ชนเหล่าใดมีสติส่งไปถึงพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ
โครงการตักบาตรพระ ๕ แสนรูป ๗๖ จังหวัดทุกวัดทั่วไทย ตลอดระยะเวลา 9 ปี ๖ เดือนที่ผ่านมา ทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของคำว่า "ให้" กับ "ไม่ให้" ว่าต่างกัน อย่างไร เพราะเริ่มสัมผัสได้ถึงกระแสแห่งสันติสุขที่แผ่ขยายออกไปกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ที่สำคัญ ที่สุดคือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง คือ ความสุข และความเบิกบานในบุญทับทวี มากยิ่งขึ้น ดังโอวาทของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ที่ยัง ประทับอยู่ในดวงใจว่า "ผู้ให้ กับผู้ไม่ให้ แตกต่างกันด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ และอธิปไตย คนที่เป็นผู้ให้จะร่ำรวย สมบูรณ์ มีความสุขสบายกว่าผู้ไม่ให้ ไม่ว่าจะไปเกิดเป็นชาวสวรรค์ ไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นพระหรือเป็นนักบวชก็ตาม เพราะฉะนั้น จึงควรหมั่นทำทานบ่อย ๆ เราจะได้สร้างบารมีอย่างสะดวกสบายไปทุกภพทุกชาติ"
ดังนั้น ใครที่เคยสงสัยว่า ทำไมชาตินี้ตนเองถึงสร้างบารมีได้สำบากนัก คำตอบก็ คือ เป็นเพราะทานบารมีในอดีตที่สังสมมานั้นยังน้อยอยู่ ดังนั้น เวลาในปิจจุบันคือสิงที่ สำคัญที่สุด เพราะเป็นโอกาสทองให้เราได้สร้างบารมี เพื่อออกแบบชีวิตของเราเองให้รวย แข็งแรง ฉลาด สมปรารถนาในสิงที่ดีงาม ด้วยการทำทาน รักษาคืล และเจริญภาวนา ชีง จะเป็นทางมาแห่งความสุขความสำเร็จของชีวิตที่แท้จริงทั้งในภพนี้และภพหน้าตราบวันเข้าส่ พระนิพพาน